โครงการ “สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ”

วันนี้ (25 ก.ค. 2560) เวลา 09.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ น.ส.นันทรัศมิ์ เทพดลไชย รอง ผอ.สกธ. ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ “สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ” โดยมีบุคลากร สกธ.และหน่วยงานที่มีตัวชี้วัดของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) เข้าร่วมรับฟังการบรรยายจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา
ระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. นางศิริเนตร กล้าหาญ และที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบราชการ ดร.ประยุทธ์ นามสุบิน โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ

– การสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการกำหนดตัวชี้วัดของ สกธ.
และตัวชี้วัดร่วมกันระหว่างหน่วยงานหรือตัวชี้วัดของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2

-ให้ดำเนินการเชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาหลักของประเทศ คือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และการพัฒนาประเทศไทย 4.0 รวมทั้งสอดคล้องกับประเด็นปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้วย
– แนวทางการประเมินส่วนราชการตาม ม.44 ในปีงบประมาณ 2561
1. Functional Base การดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐาน ส่วนราชการกำหนดตัวชี้วัดตามภารกิจ
2. Agenda Base การดำเนินงานตามภารกิจยุทธศาสตร์หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
– กำหนดตัวชี้วัดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน (Joint KPIs) เนื่องจากเป็นการประเมินผล
การปฏิบัติตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันหลายหน่วยงาน
3. Area Base การดำเนินงานตามภารกิจพื้นที่
– กำหนดให้มีตัวชี้วัดการบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวง/จังหวัด (Function-Area KPIs)
4. Innovation Base การบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม
– ตัดตัวชี้วัดการเบิกจ่ายงบประมาณเนื่องจากกระทรวงการคลังมีการรายงานต่อนายกรัฐมนตรี
โดยตรงรายไตรมาส
– การเสนอนวัตกรรมมีการกำหนดคำนิยามให้กว้างขึ้นในด้านนโยบาย การให้บริการและการพัฒนา
คุณภาพการบริหารงาน และนำมาประเมินในรอบที่ 2
5. Potential Base ศักยภาพในการเป็นส่วนราชการที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์
– ส่วนราชการเป็นผู้เสนอ 10 โครงการ และรายงานตาม Template ของสำนักงาน ก.พ.ร.
โดยวัดผลการดำเนินงาน กับการใช้จ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ
6. มีการปรับรอบระยะเวลาในการรายงานผล จาก 5 เดือน และ 10 เดือน เป็น 6 เดือน และ 12 เดือน
เพื่อให้รอบการประเมินสอดคล้องกับเป้าหมายการดำเนินงานตามปีงบประมาณ การกำหนดตัวชี้วัดสามารถตอบสนองแผนการพัฒนาหลักของประเทศ โดยเริ่มจากทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ที่สำคัญของหน่วยงาน กำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (แผน 12) ประเทศไทย 4.0 SDGs แผนบูรณาการ และนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งระบุค่าเป้าหมาย ผลลัพธ์ ผลผลิตขั้นตอนวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล
ตัวชี้วัดในรอบ 6 เดือนและรอบ 12 เดือน

159 Views