การประชุมคณะกรรมการศึกษาสถานการณ์ปัญหาการขายฝากที่ไม่เป็นธรรม ครั้งที่ 1/2560

 

วันนี้ (24 ส.ค. 60) ผอ.สกธ. ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศึกษาสถานการณ์ปัญหาการขายฝากที่ไม่เป็นธรรม ครั้งที่ 1/2560 ณ ห้องประชุมกิจการยุติธรรม 2 (JA2) สกธ. โดยมี สกม.สป.ยธ. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ

ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาประเด็น ดังนี้
-ข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการรวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2559 ได้แก่ คณะทำงานแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในระบบเกษตรพันสัญญาของ ยธ. /สภาเกษตรแห่งชาติ/ ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม/ มติของ กพยช.โดยการเสนอข้อพิจารณาของคณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้กฎหมาย

-การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่แท้จริงในปัจจุบันของเกษตรกรว่า เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายขายฝากใน ปพพ. มีความล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มเงื่อนไขเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกร หรือยกเลิกกฎหมายขายฝากหรือไมประธานได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการดำเนินการแบ่งกระบวนการเป็น 4 ขั้นตอนโดยแบ่งเป็น 5 แนวทางได้แก่
1. ต้นทางก่อนทำสัญญา
1.1 ความต้องการใช้เงินเพื่อชำระหนี้ของเกษตรกรให้ทันท่วงที และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐ
1.2 การสร้างความรับรู้เรื่องกฎหมายในเรื่องความแตกต่างของการทำสัญญากู้ยืมและสัญญาขายฝาก
2. ระหว่างทำสัญญา   หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลหรือสอบสวนคู่สัญญาที่จะให้ข้อมูลในประเด็นต่างๆ อาทิ ระยะเวลาไถ่ถอน เงื่อนไขในสัญญา ดอกเบี้ย สถานที่และวิธีการชำระหนี้ การวางทรัพย์ เป็นต้น
3. หลังจากทำสัญญา  การบ่ายเบี่ยงไม่รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ การขอรับเงินใต้โต๊ะของเจ้าหนี้ในการขอเงินเพิ่มเพื่อขยายระยะเวลาขายฝาก
4. วิธีการแก้ไขปัญหา
การไกล่เกลี่ยและการเยียวยาการชำระหนี้ให้เกษตรกร

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมข้อมูลได้แก่
– ข้อมูลเชิงสถิติ เช่น สถิติการไถ่ถอนที่ดินขายฝาก(กรมที่ดิน) สถิติการวางทรัพย์ของลูกหนี้ในสัญญาขายฝาก(กบค.) สถิติปัญหาของเกษตรกรที่ทำให้เกิดหนี้ (สภาเกษตรกรแห่งชาติ) สถิติรายได้จากที่ดินเกษตรกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) เป็นต้น
– ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการชำระหนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
พร้อมทั้งมอบให้ฝ่ายเลขานุการศึกษาเรื่องโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของธนาคารที่ดินเพื่อให้มีหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่แทนนายทุนเอกชนด้วย

136 Views