การประชุมคณะกรรมการติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล (คตน.)

วันนี้ (14 ธ.ค. 60) เวลา 10.00 น. ผอ.สกธ. ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล (คตน.) ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รอง นรม. และ รมว.ยธ. เป็นประธาน ในการประชุมครั้งนี้ ผอ.สกธ. ได้ชี้แจงประเด็นติดตามเร่งด่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องกับภารกิจของ ยธ. ได้แก่

1.การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ (สสว. และกษ. รับผิดชอบหลัก โดย ยธ. ร่วมชี้แจง) มีรายละเอียดสำคัญดังนี้
▪การดำเนินนโยบายพลิกฟื้นและฟื้นฟูกิจการ SME โดยแบ่งวงเงินช่วยเหลือตามขนาดกิจการ
▪การลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการของรัฐ เช่น โครงการบริการสินเชื่อรายย่อย โครงการนำร่องเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย
▪การดำเนินการของ ยธ.ในส่วนของ กสพ. และ กบค. ได้แก่ การไกล่เกลี่ยเพื่อช่วยเหลือประชาชนในการยุติการบังคับคดี การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้โดยเฉพาะกลุ่มพื้นที่ต่างจังหวัด มาตรการป้องกันโดยการให้ความรู้ประชาชนด้านกฎหมายและถ่ายทอดภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
▪รอง นรม. ประจินฯ เห็นว่า ส่วนราชการมักเน้นเรื่องแก้ปัญหาปลายน้ำเป็นส่วนใหญ่ จึงขอให้ (1) เพิ่มน้ำหนักไปที่การป้องกันและให้ความช่วยเหลือในขั้นต้นก่อนประชาชนตกเป็นหนี้โดยเฉพาะหนี้ภาคการเกษตร (2) สำรวจสภาพหนี้ตั้งแต่ปี 2557-2560 โดยเน้นหนี้ที่ยังชดใช้ไม่หมด (3)ให้สำรวจช่องว่างของการไกล่เกลี่ยและการประนอมหนี้ที่อาจเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบของนายทุนและลูกหนี้ (4) ให้ใช้ จ.กาฬสินธุ์เป็นจังหวัดนำร่องตามข้อสั่งการ นรม. (5) มอบหมายให้ มท. กษ. ยธ. เป็นหน่วยงานหลัก และให้ กค. และสลน. เข้าร่วมเก็บข้อมูล

2.การพัฒนาระบบงานยุติธรรมชุมชน (ยธ. รับผิดชอบหลัก)
▪เน้นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำโดยจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน ประมาณ 7,700 แห่ง มีภารกิจ 5 ด้าน ได้แก่การป้องกันและควบคุมอาชญากรรมโดยมิติเรื่องการป้องกันยาเสพติด การสร้างการรับรู้กฎหมาย การรับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเพือแก้ปัญหาเบื้องต้น การลดข้อขัดแย้งเบื้องต้นและสร้างความตระหนักรู้ถึงกระบวนการยุติธรรมทางเลือก การเยียวยาเหยื่อตามกฎหมายค่าตอบแทนผู้เสียหายคดีอาญาหรือโครงการฟื้นฟูสภาพจิตใจในคดีอาญา และการคืนคนดีสู่สังคมโดยสร้างโอกาสด้านอาชีพให้นักโทษ ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการประเมินผลยุติธรรมชุมชนทั้งประเมินโดยแบ่งเป็น 4 เกณฑ์เพื่อให้เป็นไปตามภารกิจทั้ง 5 ด้าน
▪กลไกการตั้งยุติธรรมชุมชนใช้เกณฑ์ อบต. เป็นหลักและใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่ทางกฎหมาย และมีคณะกรรมการบริการจัดการ รวมถึงการสร้างเครือข่ายด้านการคุ้มครองสิทธิ ยาเสพติด ให้เบ็ดเสร็จในที่เดียวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชุมชน ทั้งนี้มีโครงสร้าง 19 จังหวัดนำร่องจาก 76 จังหวัด โดย สกธ.ได้รับมอบหมายจาก ยธ. ให้เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายจาจังหวัดสู่ชุมชนต่อไป

3.การเสริมสร้างโอกาสทางด้านอาชีพ (ยธ. และ รง. เป็นหน่วยงานหลัก) ให้แก่นักโทษ
▪การจำแนกผู้ต้องขังโดยใช้เกณฑ์ที่มีทักษะอยู่แล้ว ฝึกทักษะเพิ่มเติมเพื่อนำไปต่อยอดซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของทั้งหมด มีประเภทของงานในการฝึกอบรมได้แก่งานอุตสาหกรรม งานบริการ และงานอื่นๆที่ใช้ประกอบอาชีพอิสระระยะสั้น
▪การบูรณาการกับหน่วยงานเกี่ยวข้องอื่น เช่น รง. อส. มท. ในการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ต้องขัง
▪การส่งผู้ต้องขังออกไปฝึกอาชีพในสถานประกอบการนอกสถานที่คุมขัง ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ 2559 ส่วนใหญ่เป็นงานอุตสาหกรรม ก่อสร้าง เกษตรกรรม ขนย้าย ซ่อมรถยนต์ ที่ต้องสร้างความมั่นใจกับผู้ประกอบการด้วย
▪รอง นรม. ประจินฯ มีข้อสังเกตเรื่องสัดส่วนผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวและผู้ต้องขังที่ได้ผ่านการฝึกอาชีพที่ยังมีช่องว่างอยู่มาก จึงควรติดตามผลการปล่อยตัวผู้ต้องขังด้วยว่าได้ประกอบอาชีพหรือไม่ มีการกระทำผิดซ้ำหรือไม่ และต้องประสานกับผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเก็บข้อมูลทางสถิติ การฝึกอาชีพที่เหมาะสม และการรับเข้าทำงานภายหลังที่ได้รับการปล่อยตัวโดยควรเป็นในเขตภูมิลำเนาของผู้ต้องขังด้วย

130 Views