วันที่ 7 มีนาคม 2561 นางสาวนันทรัศมิ์ เทพดลไชย รองผู้อำนวยการสำนักงานงานกิจการยุติธรรม ได้รับมอบหมายเป็นประธานโครงการติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดตรัง
โดยเวลา 16.00 น. ได้ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของ สยจ.ตรัง ในเรื่องการให้บริการประชาชนของ สยจ.ตรัง ตามผังงานการให้บริการแบบใหม่ ตามข้อสั่งการปลัดกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ สยจ. ตรัง ได้มีความพร้อมและมีการปฏิบัติงานตามนโยบายของกระทรวงยุติธรรมเป็นไปโดยเรียบร้อย และพร้อมพัฒนาในส่วนที่ต้องมีการพัฒนา
วันที่ 8 มีนาคม 2561 วันที่สองของโครงการติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดตรัง โดยมีประเด็นในการประชุมนำเสนอและตรวจเยี่ยม ศยช. ดังนี้
ช่วงเช้า เวลา 8.30-11.30 นาฬิกา เป็นการประชุมร่วมกันของสำนักงานยุติธรรมกลุ่มภาคใต้ตอนบน ซึ่งประกอบด้วย สยจ.กระบี่ สยจ.ตรัง สยจ.ชุมพร สยจ.นครศรีธรรมราช สยจ.พังงา สยจ.พัทลุง สยจ.ภูเก็ต สยจ.ระนอง และ สยจ. สุราษฎร์ธานี รวม 9 จังหวัด ซึ่งมีประเด็นในการนำเสนอ ดังนี้
– การจัดการให้บริการประชาชนของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด (ผังการให้บริการแบบใหม่)
– งานการให้บริการประชาชนของ สยจ. ( 7 งานบริการ)
– การขับเคลื่อน กพยจ. (การประชุม กพยจ./การเสนองบประมาณในพื้นที่/การรายงานสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่)
– ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของ สยจ.
– บุคลากร/สถานที่/งบประมาณ
– กรณีของ สยจ.ชุมพร ที่ให้เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษากฎหมาย ไปนั่งที่ศูนย์ดำรงธรรม ทำให้ไม่สามารถจัดผังการให้บริการแบบใหม่ตามข้อสั่งการของ ปยธ.
ทั้งนี้ ในภาพรวมการนำเสนอของ สยจ.ทั้ง 9 จังหวัด ถือว่าสามารถนำนโยบายของกระทรวงยุติธรรมมาขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อประชาชนผู้มารับบริการ ส่วนข้อเสนอแนะและปัญหาที่มีการนำเสนอ สชจ.สกธ.จะทำการสรุปและเสนอผู้บริหารกระทรวงยุติธรรมทราบต่อไป
ช่วงบ่าย เวลา 13.00 นาฬิกา ตรวจเยี่ยม ศยช.ตำบลนาหมื่นศรี ตั้งอยู่ที่ อบต.นาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ซึ่งเป็น ศยช. ที่มีความเข้มแข็ง โดยมีผู้นำท้องที่เป็นประธาน ศยช. เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหายาเสพติดและท้องก่อนวัยอันควรของเด็กวัยรุ่น ก็จะสามารถจะยุติเรื่องได้ในชุมชน
เวลา 13.40 นาฬิกา ตรวจเยี่ยม ศยช.นาข้าวเสีย ตั้งอยู่ที่ อบต.นาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยมีนายก อบต. เป็นประธาน ศยช. ซึ่งเป็น ศยช.ต้องต้องพัฒนา ซึ่งสิ่งที่ต้องมีการพัฒนา ศยช.คือ เพิ่มองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายให้กับคณะกรรมการ ศยช.เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับคณะกรรมการ ศยช. และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและต่อยอดให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป