วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 นายวัลลภ นาคบัว ผอ.สกธ. ให้เกียรติเป็นหัวหน้าคณะการติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดและศูนย์ยุติธรรมชุมชน ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี สยจ. ที่เข้าร่วมการประชุม 5 แห่ง ได้แก่ สยจ.สุราษฎร์ธานี สยจ.ชุมพร สยจ.นครศรีธรรมราช สยจ.พัทลุง และ สยจ.สงขลา
เวลา 11.00 – 12.30 น. ติดตามผลการปฏิบัติงานของ สยจ. ทั้ง 5 แห่ง ณ โรงแรมเค พาร์ค จ.สุราษฎร์ธานี ผอ.สกธ. ได้มีการมอบนโยบายและข้อสั่งการของท่านปลัดกระทรวงยุติธรรมกับผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้
1. การบูรณาการงานร่วมกัน ระหว่างกองทุนยุติธรรมและ สชง.
2. การเข้าใช้ระบบ DXC และ MSC ของกระทรวงยุติธรรม
3. แนวทางการขับเคลื่อนโครงการยุติธรรมเคลื่อนที่ ปีงบประมาณ 2562 สยจ.จะต้องบูรณาการหน่วยงานภายในจังหวัด ดังนี้
3.1 กรมการปกครอง
3.2 สถานศึกษา (โรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์)
3.3 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.)
3.4 สาธารณสุขจังหวัด
4. การให้ความช่วยเหลือประชาชนเบื้องต้นแบบยุติธรรมใส่ใจ (justice care) คือ แนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมแบบบูรณาการ (victim scheme)
5. การสืบเสาะข้อเท็จจริงและกระบวนงานของกองทุนยุติธรรม จะต้องแล้วเสร็จภายใน 21 วัน
6. การขับเคลื่อน กพยจ โดยวิเคราะห์ฐานข้อมูลในการอำนวยความเป็นธรรมในระดับพื้นที่ทราบ รวมทั้งเสนอแผน การป้องกันอาชญากรรม การสร้างการรับรู้ด้านกฎหมาย และการช่วยเหลือเหยี่อ/ผู้เสียหาย เพื่อสามารถกำหนดการขับเคลื่อนในภาพรวมจังหวัดได้
7. แผนการขับเคลื่อนโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ให้กับสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้รายงานผลการดำเนินงานของปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา และแนวทางการขับเคลื่อน สยจ.และ ศยช.ในปีงบประมาณ 2562
ส่วนรายละเอียดและประเด็นของแต่ละ สยจ.ที่มีการรายงานมาในที่ประชุมนั้น ทาง สกธ. โดย สชจ. จะนำประเด็นดังกล่าวเสนอผู้บริหารโดยเร็ว และจะกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
ต่อมาเวลา 13.30 – 14.30 น. ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยม โรงเรียนวัดสมหวัง (โรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ )
ซึ่งเป็นโรงเรียนในความดูแลของกรมพินิจฯ โดยโรงเรียนดังกล่าวได้มีแผนการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้นักเรียนที่มีพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง โดยจัดกิจกรรม อย่างต่อเนื่อง เช่น การเล่นดนตรี เป็นต้น
ต่อมาช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น. เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนาใต้ ซึ่งเป็น ศยช.เกรดA ของ สยจ.สุราษฎร์ธานี โดย ศยช.ดังกล่าวได้เสนอผลการดำเนินงานที่มีการขับเคลื่อนในพื้นที่โดยใช้กลไกลการขับเคลื่อนตามกรอบภารกิจ 5 ด้านของกระทรวงยุติธรรม และแผนของ ศยช.นาใต้ที่วางกรอบในการขับเคลื่อนโดยบูรณาการกับผู้นำชุมชนในพื้นที่โดยการนำผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านมาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการศูนย์ กำหนดแผนการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนได้ครอบคลุมทั้งตำบล รวมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงยุติธรรม คือ เรือนจำ และคุมประพฤติ ในเรื่องการคืนคนดีสู่สังคม