ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก ครั้งที่ 2 และ 3

807B78ED 9A8B 4C9D B382 E5D50741E9C7

มื่อวันที่ 2 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ (สผ.) 401 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา พ.ต.ท. ดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ ผอ. สกธ.ได้มอบหมายให้นายสายชล ยังรอด ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผน เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ครั้งที่ 2 – 3 โดยมีนายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ เป็นประธานในการประชุม โดยสรุปประเด็นการประชุมได้ดังนี้ ประเด็นพิจารณา ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่…) พ.ศ. …. เป็นรายมาตรา โดยเริ่มพิจารณาตั้งแต่ มาตรา 1- มาตรา 17 ประเด็นข้อสังเกตที่สำคัญจากที่ประชุม มีดังนี้ (1) ร่างมาตรา 5 กรณีที่ผู้ขับขี่สามารถขับขี่รถได้หากมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา โดยไม่ต้องถือหรือจับอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมมีข้อสังเกตว่า กรณีดังกล่าวจะช่วยลดอุบัติเหตุได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถจักรยานยนต์ซึ่งต้องสมาธิอย่างมากในการขับขี่ เนื่องจากหากยกเว้นให้กระทำได้แล้ว อาจส่งผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือไม่(2) ร่างมาตรา 6 ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่กระทำฝ่าฝืนมาตรา 43 ทวิ วรรค 1 โดยบุคคลดังกล่าวอยู่ในสภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจสอบการมีสารในร่างกายได้ ซึ่งให้อำนาจพนักงานสอบสวนมีอำนาจขอให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์ได้ ซึ่งเป็นหลักการใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา แต่ที่ประชุมเห็นว่าการที่จะดำเนินการดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถกระทำได้กับผู้ขับขี่ทุกรายได้(3) ร่างมาตรา 7 ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการแก้ไขข้อความในมาตรา 123 (2)(ก) (ใหม่) คำว่า “ในเขตชุมชนที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรกำหนด” ซึ่งร่างเดิมใช้ถ้อยคำว่า “ที่กำหนดความเร็วสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง” ซึ่งปรากฎในเรื่องข้อยกเว้นที่คนโดยสารไม่ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยหากรถยนต์ดังกล่าวอยู่ในทางเดินรถในเขตชุมชนที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรกำหนด(4) ร่างมาตรา 13 ที่ประชุมได้เห็นชอบ แต่มีข้อสังเกตในเรื่องการใช้ถ้อยคำในมาตรา 143 (2) ใหม่ คำว่า “รถมีสภาพไม่ถึงกับปลอดภัยในการใช้” ซึ่งเห็นว่าควรมีคำนิยามหรือการเพิ่มเติมข้อความให้มีความชัดเจนในความหมายมากขึ้น นอกจากนี้เห็นควรให้มีการเพิ่มบทบัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานจราจรหรืออาจใช้วิธีการแก้ไขถ้อยคำในมาตรา 142 (2) แทน เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ขับขี่ในการร้องเรียนได้ กรณีที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรเพื่อเป็นการตรวจสอบดุลยพินิจเจ้าพนักงานอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเป็นรายมาตราในบทบัญญัติที่เหลือ และกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการทุกวันอังคารและวันพุธของสัปดาห์ เวลา 09.30 – 16.30 น. โดยมีการกำหนดการประชุมมาแล้วจำนวน 3 ครั้ง ซึ่งจะมีการประชุมครั้งถัดไป (ครั้งที่ 4) ในวันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564

88 Views