เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมบีบี 210 อาคารวายุภักษ์ โรงแรมเซนทราบายเซ็นทาราคอนเวนชันเซนเตอร์ พันตำรวจโท ดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม ได้เข้าร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการบริหารงานวิจัยของคณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลงานวิจัยของกระทรวงยุติธรรม และบรรยายพิเศษในหัวข้อ การจัดทำกรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม (พ.ศ. 2566 – 2569) และการจัดทำข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2566 โดย มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมได้ร่วมพัฒนา และจัดทำประเด็นการวิจัยของกระทรวงยุติธรรมที่สามารถนำงานวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในการกำหนดนโยบายและพัฒนาการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เน้นในเรื่องการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดทำข้อเสนอแผนงานวิจัย ชุดโครงการ โครงการย่อย ภายใต้แนวการจัดทำแผนโดยเน้นการกำหนดเป้าประสงค์และผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ เพื่อนำไปสู้แผนการพัฒนาโครงการวิจัยของหน่วยงานและได้มาซึ่ง ร่างกรอบการวิจัยในกระบวนการยุติธรรม ปี พ.ศ.2566-2569 เพื่อรายงานผลการดำเนินการต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลงานวิจัยของกระทรวงยุติธรรม และคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยในกระบวนการยุติธรรม ต่อไป
ภายในงานภาคเช้าได้รับเกียรติจาก รศ.สมพร อิศวิลานนท์ และ ดร.ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ จากสถาบันคลังสมองของชาติ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) เพื่อใช้ประกอบการศึกษาบริบทที่เปลี่ยนของไปของการบริหารจัดการงานวิจัย และการฝึกภาคปฏิบัติ การออกแบบเส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัยด้านกระบวนการยุติธรรม (Impact Pathway) เพื่อให้มีความสอดคล้องการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง
ในการประชุมในภาคบ่าย มีการจัดกิจกรรมกลุ่มในเรื่องของแนวทางในการจัดทำแผนงาน /ชุดโครงการ/โครงการวิจัยย่อย โดย นายนัทธปราชญ์ นัททิวัฒน์กุล อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึงเน้นกระบวนการสร้างการบูรณาการงานวิจัยระหว่างหน่วยงาน และการกำหนดเป้าประสงค์และผลสัมฤทธิที่สำคัญภายใต้ (ร่าง) กรอบวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ.2566-2569 ประกอบด้วย
กรอบวิจัยที่ 1 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข
กรอบวิจัยที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ปกครอง เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข
กรอบวิจัยที่ 3 การพัฒนากฎหมาย (Better Regulation) มีความทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤติ
กรอบวิจัยที่ 4 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในกระบวนการยุติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ภาวะวิกฤติ
กรอบวิจัยที่ 5 การพัฒนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้มีระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ภาวะวิกฤติ
ทั้งนี้ผลการประชุมเชิงสวพ.จะดำเนินการต่อในวันที่ 19 มีนาคม 2564 ต่อไป