การประชุมคณะกรรมการเพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางการจัดตั้งเรือนจำเอกชน ครั้งที่ 3

cover for web2 07

วันที่ 29 มิถุนายน 2564 พ.ต.ท.พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการเพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางการจัดตั้งเรือนจำเอกชน ครั้งที่ 3/2564 โดยวิธีการประชุมทางไกล ผ่านระบบออนไลน์ cisco webex meeting โดยมีนายโฆสิต สุวินิจจิต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เข้าร่วมประชุม 

ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับข้อเสนอแนะหรือแนวทางในการดำเนินการจัดตั้งเรือนจำเอกชนโดยฝ่ายเลขานุการฯได้นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุมดังนี้ 

            1️⃣ ข้อมูลสถิติที่ได้รับจากกรมราชทัณฑ์ ได้แก่ ข้อมูลสถิติจำนวนนักโทษเด็ดขาดและผู้ต้องขังระหว่าง 4 ปีย้อนหลัง ข้อมูลสถิตินักโทษเด็ดขาดและผู้ต้องขังระหว่างแยกตามโทษที่ยังเหลือต้องจำต่อไป 4 ปีย้อนหลัง ข้อมูลประเภทนักโทษคดียาเสพติด รวมถึงนำเสนออัตราโทษของผู้ต้องขังที่เห็นควรอยู่ในเรือนจำเอกชน คดีและลักษณะการกระทำผิดที่ไม่สมควรให้อยู่ในเรือนจำเอกชน และ Business model 

             2️⃣ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการเรือนจำเอกชน โดยรูปแบบเรือนจำเอกชนที่เหมาะสมในประเทศไทย คือ รูปแบบที่รัฐจ้างเอกชนบริหารจัดการเรือนจำทั้งระบบ โดยภารกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรือนจำเอกชนจะดำเนินการเองทั้งหมด ทั้งการควบคุมผู้ต้องขัง การแก้ไขพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง โดยรัฐจะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารเรือนจำให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของเรือนจำเอกชน การบริหารจัดการเรือนจำเอกชน ระบบปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรือนจำเอกชน และต้นทุนในการดำเนินงานเรือนจำ เป็นต้น

         ✍🏻ที่ประชุมได้มีข้อสังเกต ดังนี้

        (1) ต้องมีการดำเนินการจัดทำ Business Model เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 กรณีนักโทษเด็ดขาด และรูปแบบที่ 2 ผู้ต้องขังระหว่าง เนื่องจากความเคร่งครัดของกระบวนการควบคุมจะมีความแตกต่างกัน

        (2) วัตถุประสงค์ในการดำเนินการเรือนจำเอกชน ต้องสามารถตอบคำถามได้ว่ารัฐและเอกชนจะได้รับประโยชน์อะไรจากการดำเนินการดังกล่าว

        (3) เรือนจำเอกชนเหมาะสำหรับผู้ต้องขังระหว่าง เพราะผู้ต้องขังระหว่างยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำควรต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำที่แตกต่างจากนักโทษเด็ดขาดตามมาตรฐานสากล 

         📝ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติ 

         (1) ให้มีการจัดทำ Business Model แยกนักโทษเด็ดขาดและผู้ต้องขังระหว่างให้ชัดเจนเป็น 2 รูปแบบ เพื่อให้สอดรับกับข้อคำถามว่ารัฐและเอกชนจะได้ประโยชน์อะไรจากการดำเนินการจัดตั้งเรือนจำเอกชน 

         (2) ให้มีการจัดทำ Executive summary ตามแนวทางข้างต้นดังกล่าว เพื่อนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมต่อไป

97 Views