การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นการจัดทำเนื้อหาในหัวข้อวิชาที่เป็นองค์ความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรม

cover for web2 Artboard 31

วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ผอ.สกธ. ได้ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นการจัดทำเนื้อหาในหัวข้อวิชาที่เป็นองค์ความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 (รูปแบบออนไลน์) ผ่านระบบ Cicso Webex Meetings ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายนิติศาสตร์เพื่อสังคม โดยมี รอง ผอ.สกธ. (นางสาวสุพรรณี ประเสิรฐทองกร) ผอ.สพก. และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยเรื่องเพื่อทราบ คือ
การจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในหัวข้อวิชากระบวนการยุติธรรมไทย ร่วมกับสถาบันการศึกษา สกธ. ได้ขับเคลื่อน มติ ครม. โดยการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ให้กับนักศึกษา ประชาชน และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากหัวข้อวิชากระบวนการยุติธรรมไทย มีความสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2560 เรื่อง แนวทางการเตรียมบุคลากรก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการตัดต่อวิดิทัศน์เพื่อนำสื่อการเรียนการสอนดังกล่าวเผยแพร่ผ่านระบบ Thai MOOC ของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ที่ประชุมได้มีการจัดทำเนื้อหาในหัวข้อวิชาที่เป็นองค์ความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 โดยที่ประชุมฯ ได้พิจารณากรอบเนื้อหา/การกำหนดหมวดวิชา/การนับจำนวนหน่วยกิตและการสร้างแรงจูงใจ ในหัวข้อวิชาตามมติ ครม. จำนวน 2 หัวข้อวิชา ได้แก่ หัวข้อวิชาที่ 1 กระบวนการยุติธรรมและกฎหมายในชีวิตประจำวัน วิชาที่ 2 หลักสิทธิมนุษชนคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล และมีข้อสังเกต ดังนี้

1. เนื้อหาในหัวข้อวิชาที่เป็นองค์ความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรมทั้ง 2 หัวข้อวิชาในภาพรวม มีความน่าสนใจและความครอบคลุมหัวข้อวิชาแล้ว แต่ควรปรับเนื้อหาในหัวข้อวิชาหลักสิทธิมนุษชนฯให้กระชับเนื่องจากเป็นการเรียนในรูปแบบออนไลน์ และควรยกกรณีตัวอย่างหรือคลิปวิดีโอเพื่อประกอบการเรียนเพื่อดึงดูดความสนใจให้กับผู้ศึกษา และควรอัพเดทเนื้อหาในหัวข้อวิชาฯ ทุกปี

2. ควรกำหนดให้หัวข้อวิชาฯ อยู่ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (General Education : GE) เนื่องจากเนื้อหาในหัวข้อวิชาฯมีลักษณะเป็นความรู้พื้นฐาน เหมาะกับนิสิต นักศึกษา ทุกสาขาวิชา และเหมาะสำหรับประชาชนทั่วไป เนื่องจากมีแรงจูงใจหากสามารถนำประกาศนียบัตรมาใช้ประกอบการสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการได้

3. การนับจำนวนหน่วยกิตใน 2 หัวข้อวิชาฯ อาจกำหนดในลักษณะรายวิชาที่ไม่นับรวมหน่วยกิต (Non-credit) หรือรายวิชาที่ขอลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยกิตเป็นหน่วยกิตสะสม (Audit) โดยผู้ศึกษาจะได้รับเกรดคือ S หรือ U

ทั้งนี้ สพก. จะสรุปรวบรวมประเด็นที่ได้จากการประชุมฯ เพื่อนำไปปรับปรุงและเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาความรู้และส่งเสริมคุณธรรมแก่บุคลากรในงานยุติธรรม และ กพยช. ต่อไป

116 Views