สกธ.เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 1/2564

cover for web2 Artboard 46

วันที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 13.00 น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 1/64 ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Webex Cisco โดยมีพันตำรวจโทพงษ์ธร ธัญญสิริ ผอ.สกธ. นายชัยวัฒน์ ร่างเล็ก รอง ผอ.สกธ. พร้อมกับเจ้าหน้าที่ สกธ. เข้าร่วม การประชุม โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าว มีประธานค.ต.ป. ประจำ ยธ./ หัวหน้า/รองหัวหน้าส่วนราชการใน ยธ. / ผอ.องค์การมหาชนภายใต้การกำกับ รมว.ยธ./ ผู้แทนกลุ่ม ป.ย.ป.ยธ. /สำนักงบประมาณ/สำนักงาน ก.พ.ร./สภาพัฒน์ เป็นกรรมการ และ.ก.พ.ร.ยธ. เป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งวันนี้มีวาระการหารือหลักคือการจัดทำร่างตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ปีงบประมาณ 2565 สามารถสรุปประเด็นการประชุมได้ ดังนี้

1.ปีงบประมาณ 2565 มีกรอบแนวทางในการจัดทำตัวชี้วัดฯ 2 องค์ประกอบ คือ Performance Base และ Potential Base โดยรายละเอียดตัวชี้วัดดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินการปฏิบัติงานของหัวหน้าส่วนราชการ ด้วย

2.การดำเนินการจัดทำตัวชี้วัดฯ ปีงบประมาณ 2565 แตกต่างจากปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน คือการมีกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดตัวชี้วัด และติดตามผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดของระดับกระทรวง และระดับส่วนราชการ

3.ปีงบประมาณ 2565 คณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างตัวชี้วัดฯ ระดับกระทรวง จำนวน 8 ตัวชี้วัด (ไฟล์แนบ) ซี่งสำนักงาน ก.พ.ร. จะขับเคลื่อนการดำเนินการกลั่นกรองในคณะกรรมการในระดับ อ.ก.พ.ร. ต่อไป

4.ส่วนตัวชี้วัดในระดับกรม สกธ. ได้เสนอร่างตัวชี้วัด Performance Base จำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่
🔷ความสำเร็จในการปรับปรุงเครื่องมือ Law Enforcement Indicators : LEI
🔷ความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการเกี่ยวกับงานศึกษาวิจัยด้านกระบวนการยุติธรรมแบบบูรณาการ
🔷ความสำเร็จในการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมในเชิงพื้นที่ : ความสำเร็จในการสร้างตัวแบบ (Model) ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมระดับจังหวัด
🔷ความสำเร็จในการใช้งานระบบของศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม (DXC)
🔷ความสำเร็จในการศึกษาข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพยากรณ์สถานการณ์อาชญากรรม

91 Views