วันที่ 17 กันยายน เวลา 9.00 – 16.00 น. วันสุดท้ายของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมทั้งในด้านการกำหนดนโยบายและการบริหารงาน ซึ่งได้รับเกียรติจากนายนีรนาท นักดนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นวิทยากร และมีบุคลากร สกธ.เข้าร่วมการสัมมนาฯ อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ คือ
>>วิทยากร ได้ให้แนวคิดต่อยอดจากการสัมมนาครั้งที่ผ่านมา ในเรื่องการพัฒนานวัตกรรม ว่าหลังจากที่ได้มีการกำหนดสาเหตุหลัก/สาเหตุย่อยของปัญหา เรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการวิเคราะห์กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจากการสัมมนาฯ. ได้กำหนดประเด็นปัญหาสำตัญ คือ “หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่นำแผนแม่บทฯ ไปปฎิบัติ” ซึ่งจากประเด็นปัญหาข้างต้น ได้มีการพิจารณาคุณค่าของแผนแม่บทฯ ต่อหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม/ประชาชน/สังคม รวมทั้งระบุแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งผู้เข้าร่วมการสัมมนาระดมความเห็นออนไลน์ ผ่าน application Miro และสรุปประเด็นการสัมมนาได้ ดังนี้
🔷การส่งมอบคุณค่าของแผนแม่บทฯ
– เป็นแผนระดับชาติที่ให้ทิศทางของการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ใน 4 ปี ข้างหน้า
– ชี้ให้เห็น pain point ของกระบวนการยุติธรรม
– ทำให้หน่วยงานรู้ทิศทางในการดำเนินการ
– ให้ความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรม ทำให้คนที่อ่านทราบว่ากระบวนการยุติธรรม มีผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นใครบ้าง
– เป็นเครื่องมือในการกำหนดการดำเนินงานของหน่วยงาน
– ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการเสนอของบประมาณ
🔷การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา “หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่นำแผนแม่บทฯ ไปปฎิบัติ”
>แนวที่ 1 เน้นขับเคลื่อนผ่าน กพยช
– มีการกำหนดการประชุมคณะอนุกรรมการประสานฯ และ กพยช ไตรมาสละครั้ง
– มีคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการประสานเพื่อขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ อย่างจริงจัง
– กำหนดให้ทุกคณะอนุกรรมการฯ จะต้องมีผลงานจากแผนงานโครงการที่กำหนดในแผนตามยุทธศาสตร์รายงานมายังคณะอนุกรรมการประสานฯ
– พัฒนากระบวนการ/ระบบรายงานสถานการณ์และ การติดตาม และระบบคาดการณ์ผล
– กำหนดให้คณะอนุกรรมการฯ ขับเคลื่อนประเด็นนโยบาย/แนวทางพัฒนาตามแผนแม่บทฯ
– โครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติราชการของ สกธ. ต้องสนับสนุนงานของคณะอนุกรรมการและขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ
– คุณภาพของข้อมูลในการเป็นกลไกขับเคลื่อน
>>แนวที่่ 2 เน้นการสื่อสาร ความเข้าใจแผนแม่บท
– ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเห็นถึงความสำคัญของแผนแม่บทฯ มากขึ้น
– การใช้สื่อเข้าใจง่าย ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
– เจ้าหน้าที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเเผนเเม่บทอย่างถ่องเเท้ เพื่อที่จะได้สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้
>>>แนวที่ 3 เน้นการแก้ไขสภาพบังคับใช้แผนแม่บทฯ
– เสนอแก้ไข/ทบทวน พ.ร.บ. กพยช.
-ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะมีการเเก้ไข ปรับปรุง ในทุกมิติ
– การทบทวน เเละประเมินผลเเผนเเม่บทที่ผ่านมา ว่ามีปัญหา อุปสรรคอย่างไรบ้าง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำเเผนเเม่บทต่อไป โดยเน้นการปรับปรุงข้อคำถาม/ตัวชี้วัดในการประเมินผล เพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
-มีการรายงาน กพยช พิจารณาสถานการณ์ของการขับเคลื่อนและ การดำเนินงานตามแผนของแต่ละคณะอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ของแผน
พร้อมทั้ง วิทยากรได้ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนานวัตกรรม ในกำหนดขอบเขตการพัฒนานวัตกรรม (End to End Process) ให้มึความชัดเจน ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ระดมความเห็นในการกำหนดขอบเขตการดำเนินงาน ในประเด็น การขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ผ่าน กพยช. มีขอบเตการดำเนินการดังนี้
1. วิเคราะห์และระบุปัญหากระบวนการยุติธรรม-
2. ค้นหาและระบุปัจจัยซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา
3. แสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหา
4. นำแนวทางการแก้ไขไปปฎิบัติ โดยมีระบบสนับสนุนการดำเนินการ
5. ติดตามประเมินผลและปรับปรุง เพื่อการพัฒนา
ซึ่งการกำหนดขอบเขคการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพควรมีระดับความละเอียดในการระบุขอบเขตที่เหมาะสมชัดเจน
ทั้งนี้ ก.พ.ร.จะมีการนำประเด็นจากการสัมมนาฯ สังเคราะห์ และเสนอแนวติด/ข้อเสนอแนะในการพัฒนานวัตกรรมขององค์กร ต่อไป
92 Views