การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการบูรณาการภารกิจขององค์กรในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่การบริหารราชการ 4.0 ครั้งที่ 1

pic for web 6 11

วันที่ 20 เม.ย. 65 พันตำรวจโทพงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการบูรณาการภารกิจขององค์กรในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่การบริหารราชการ 4.0 ครั้งที่ 1 โดยมีรองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม/ผู้บริหาร/และบุคลากร เข้าร่วมการประชุมฯ ดังกล่าว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ช่วงพิธีเปิด ประธาน : ผอ.สกธ. กล่าวถึงการบริหารราชการแบบบูรณาการทำงานกันทุกภาคส่วน สรุปประเด็นได้ดังนี้
1. PMQA มีการมุ่งเน้นในเรื่องของการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง/ การเปิดกว้างเชื่อมโยงข้อมูล/ การมีสมรรถนะสูงและทันสมัย นำนวัตกรรมมาใช้งาน ซึ่งเป็นหลักการให้หน่วยงานภาครัฐยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ
2. ผอ.สกธ. มีนโยบายมุ่งเน้นโดยยึดหลัก การทำ (ศูนย์พยากรณ์ฯ) /ขยาย (การให้ความรู้กม.) / ยกระดับ (กพยจ./ HUB การวิจัย/LEI/SDGs) / การขับเคลื่อน (แผนแม่บทฯ/แผนแม่บท IT) รวมไปถึงการยกระดับหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร/symposium
3. การบูรณาการการทำงาน ต้องมีทั้งการบูรณาการภายในหน่วยงานและบูรณาการระหว่างหน่วยงาน เช่น เรื่องของกระบวนการทำงานได้แก่
– เมื่อมีปัญหา เริ่มด้วยการศึกษาวิจัย หาปัญหา หาสาเหตุปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหา (สวพ.)
– มีช่องทาง/เวทีการหารือพูดคุยกัน (มี กพยช – คณะอนุฯ /บทบาทอื่นๆ ตามกฎกระทรวงฯ )
– นโยบายสำคัญเรื่องทางอาญา (แผนแม่บทฯ)
– การสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย (การพัฒนาบุคลากร/symposium/การทำสื่อไปยังประชาชน)
– ผลสะท้อนจากเวทีต่างๆ จะกลับมาเป็นปัญหาและประเด็นเข้าสู่กระบวนการเริ่มต้นใหม่คือในเรื่องของการศึกษาวิจัย

เห็นได้ว่าการดำเนินงานไม่ได้มีการแยกส่วน มีการเชื่อมโยง บูรณาการกันอย่างเป็นระบบ

กิจกรรมภาคเช้า
การบรรยาย วิทยากร : นายชัยวัฒน์ ร่างเล็ก รอง ผอ.สกธ. สรุปประเด็นได้ ดังนี้
1. เครื่องมือที่สามารถปรับใช้ในการดำเนินงานของหน่วยงานมีหลากหลาย ทั้ง PMQA/ OKR / KPI ซึ่งหากมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำเครื่องมือไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถยกระดับการดำเนินงานได้อย่างมาก
2. PMQA เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐ ที่ประกอบด้วย 7 หมวด เชื่อมโยงกัน ได้แก่ (1) การนำองค์กร (2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (3) การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้เสีย (4) การประเมิน การวัดผล (5)การมุ่งเน้นบุคลากร (6) ระบบปฏิบัติการ (7) ผลลัพธ์
3. OKR (Objective Key Results) โดย แยกพิจารณาสองส่วน คือ Objective การกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายในการดำเนินงาน และ Key Results คือ ผลลัพธ์หลัก โดยการพิจารณาดังกล่าว สามารถนำหลัก systematic มาประกอบการพิจารณา ทั้ง input process และ output ว่า output ของเราเป็น input ของใคร เพื่อให้การบูรณาการการทำงานภาพรวมได้ถูกพิจารณาครอบคลุมทั้งระบบ

การ workshop
วิทยากรได้กระตุ้นให้บุคลากรที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นโดยการนำเครื่องมือจากการบรรยายมาพิจารณาปรับใช้กับภารกิจของ สกธ. โดยให้บุคลากรได้ระดมความเห็นเรื่องเป้าหมายภารกิจที่ท้าทายของ สกธ. ที่จะต้อง ทำ/ขยาย/ยกระดับ และขับเคลื่อน มีเรื่องใดบ้าง ซึ่งบุคลากรได้เสนอความเห็นประเด็นที่หลากหลาย ครอบคลุมทุก ภารกิจ และได้ให้ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ร่วมลงคะแนนเสียงเพื่อกำหนดประเด็นที่มุ่งเน้นหลักในการยกระดับการดำเนินงาน ผลคือ การดำเนินงานของศูนย์พยากรณ์สถานการณ์การณ์อาชญากรรมแห่งชาติ (ศอช.) คือ objective หลัก
และต่อเนื่องจากประเด็นข้างต้นและได้ฝึกให้ผู้เข้าร่วมพิจารณาว่า เป้าหมายที่ท้าทายในการยกระดับ ศอช. คืออะไร แต่ละเป้าหมาย ต้องใช้หมวดใดของเครื่องมือ PMQA ในการผลักดันการดำเนินงาน โดยให้หลักคิด 3 : 1 : 3 คือ การคิด (หมวด 1 3 7) / การเตรียม (หมวด 2) /การลงมือทำ (หมวด 4 5 6) หลังจากนั้น ท่านวิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ได้ฝึกใช้ OKR ในการพิจารณากำหนด Key Results ต่อ โดย แบ่งเป็น Key Results 1 ศูนย์ปฏิบัติการ ศอช./ Key Resuls 2 การจัดทำ Application) และ How to ทำอย่างไรจึงได้ key Results ซึ่งประกอบด้วย (1) NCF (2) Application ต้องใช้ได้จริง เข้าถึงง่าย ปลอดภัย เป็นปัจจุบัน realtime

กิจกรรม workshop ภาคบ่าย
วิทยากรได้ให้ความรู้เพิ่มเติม ของการนำหลัก Balance Score Card มาพิจารณาในมิติต่างๆ (มิติประสิทธิผล / คุณภาพการบริการ/ ประสิทธิภาพ / การพัฒนาองค์กร) เพื่อนำไปสู่การกำหนด KPI ที่มีประสิทธิภาพ โดย ยกตัวอย่างกรณีการดำเนินงานของ ศอช.
>>ประสิทธิผล คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาชญากรรม
>>คุณภาพการบริการ คือ TOR ที่ปรึกษา
>>ประสิทธิภาพ คือ Project Management /Risk Management/ Resource Managemen
>>การพัฒนาองค์กร คือ Policy HRM/ HRD Technology
โดยแต่ละมิติสามารถกำหนดเป็น KPI ได้ทั้งระดับหน่วยงาน สำนักกอง กลุ่มงาน และบุคคล

สรุปช่วงท้าย : การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ วิทยากร ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า การบูรณาการจะสำเร็จได้ ต้องประกอบด้วย 4 ประการ
1. ต้องค้นหา End Product ของ สกธ. มีอะไรบ้าง โดยมีหลักคิดว่า End Product ต้องเกิดจากการทำงานร่วมกันของหลายสำนักกอง หากเป็นเพียงสำนักกองเดียวที่ดำเนินการ จะเป็นเพียง Key Results เท่านั้น
2. การระดมความคิดเห็น ทุกความเห็นสำคัญ ทุกคนต้องร่วมระดมความเห็น
3. องค์ความรู้เรื่องการนำเครื่องมือมาใช้ต้องชัดเจน
4. ถ้าจัดทำเป็นแผนฯ แล้ว แผนนั้นต้องสามารถใช้งานได้จริง (Systematic/Practicalitic)

ทั้งนี้ กพร จะดำเนินการสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ให้ครอบคลุมทุกประเด็นและเสนอผู้บริหารต่อไป

78 Views