การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. …. ครั้งที่ 12

pic for web 7 01

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุม 406 – 407 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา เกียกกาย นางสาวณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม และนายชัยวัฒน์ ร่างเล็ก รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. …. ครั้งที่ 12 โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงาน ได้แก่ กรมราชทัณฑ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ มาชี้แจงและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อที่ประชุม ทั้งนี้ สามารถสรุปประเด็นสำคัญจากการชี้แจงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานได้ดังนี้

กรมราชทัณฑ์ การจัดทำรายงานจำแนกนักโทษเด็ดขาด และการประเมินความเสี่ยง รวมถึงปัจจัยหรือโอกาสในการกระทำความผิดซ้ำ
(แผนรายบุคคล แผนพัฒนาพฤตินิสัย และแผนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย) , สถานที่คุมขังภายหลังพ้นโทษ และสถานที่คุมขังฉุกเฉิน รวมถึง
การปฏิบัติต่อผู้ถูกคำสั่งดังกล่าว ที่ต้องไม่ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ต้องขังหรือนักโทษเด็ดขาดในเรือนจำ , การเตรียมความพร้อมด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านบุคลากร เครื่องมือ รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าให้กับบุคลากร

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การทำสำนวนการสอบสวน , การจับโดยไม่มีหมาย ในกรณีการจับเพื่อนำตัวผู้ถูกเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษไปคุมขังฉุกเฉิน

สำนักงานอัยการสูงสุด การวางแนวปฏิบัติ โดยการจัดทำกฎหมายลำดับรอง , การกำหนดระยะเวลาในการทำ/ส่งสำนวนหรือรายงาน
ให้พนักงานอัยการสูงสุด เพื่อยื่นคำร้องต่อศาล

สำนักงานศาลยุติธรรม ระยะเวลาการยื่นคำร้องต่อศาล , เขตอำนาจศาล , กระบวนการไต่สวน , การพิจารณาคำร้องของศาล (ผู้พิพากษา
นายเดียว หรือองค์คณะ)

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ การใช้มาตรการทางการแพทย์ และกรณีการให้ความยินยอมในการรักษาหรือดำเนินการตามมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด , การเตรียมความพร้อมด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านบุคลากร ด้านอุปกรณ์ และแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมาย

จากการรับฟังข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น ที่ประชุมได้รับทราบถึงความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่ต้องบังคับใช้และปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ โดยมีเรื่องที่ต้องดำเนินการ 2 ส่วน ได้แก่ 1) การจัดทำกฎหมายลำดับรอง และ 2) การเตรียมความพร้อม อาทิ ด้านบุคลากร สถานที่ เครื่องมือ รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจ ทั้งนี้ ส่วนสำคัญประการหนึ่งที่กระทรวงยุติธรรม โดยสำนักงานกิจการยุติธรรมได้ขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติฯ ผ่านคณะกรรมการอำนวยการ และการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำฯ ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานเข้ามาร่วมดำเนินการนั้น จึงทำให้ภาพรวมในการเตรียมความพร้อมเรื่องดังกล่าว มีความเข้าใจที่สอดคล้อง และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน การนำเสนอและชี้แจงข้อมูลจึงสอดรับไปในทิศทางเดียวกันทุกหน่วยงาน

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ นัดประชุมครั้งต่อไปในวันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ในประเด็นและมาตรา
ที่ค้างการพิจารณาไว้

104 Views