การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ​ ​(กพยช.)​ ครั้งที่ 1/2565

pic for web 7 07

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ณ อาคารรัฐสภา เกียกกาย นายชัยวัฒน์ ร่างเล็ก รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. …. ครั้งที่ 14 โดยการประชุมดังกล่าว คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ เรียงลำดับรายมาตราที่รอการพิจารณาไว้ จำนวน 11 มาตรา สรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ดังนี้

1. มาตรา 17 เรื่อง อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ : มติที่ประชุม ไม่มีการแก้ไข (แต่มีพิจารณากำหนดมาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษในระหว่างการดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดตามมาตรา 30)

2. มาตรา 19 เรื่อง มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด : มติที่ประชุม ไม่มีการแก้ไข (มีเพิ่มเติมวรรคสี่ ดังนี้ “ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบคําร้องของพนักงาน อัยการตามวรรคหนึ่ง”)

3. มาตรา 22 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ :  มติที่ประชุม ไม่มีการแก้ไข

4. มาตรา 24 เรื่อง การยื่นคำร้องของพนักงานอัยการ : มติที่ประชุม ไม่มีการแก้ไข (มีเพิ่มเติมถ้อยคำในวรรคท้าย ดังนี้ “หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณายื่นคำร้องของพนักงานอัยการ ตลอดจนระยะเวลาที่จะเสนอต่อศาลให้กำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยข้อบังคับของอัยการสูงสุด”)

5. มาตรา 26 เรื่อง การดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ และการจัดทำรายงานการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษเสนอศาล ทุกรอบ 6 เดือน :  มติที่ประชุม ไม่มีการแก้ไข

6. มาตรา 30 เรื่อง การกำหนดให้พนักงานคุมประพฤติเป็นผู้เสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการ โดยไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ  :  มติที่ประชุม ไม่มีการแก้ไข (เพิ่มเติมถ้อยคำในการกำหนดให้พนักงานคุมประพฤติเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการประทำความผิดซ้ำ เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นไปยังพนักงานอัยการ)

7. มาตรา 34 เรื่อง การนำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม และการปฏิบัติต่อผู้ถูกคำสั่ง :  มติที่ประชุม รอการพิจารณา โดยมีการเสนอเพิ่มถ้อยคำในวรรคสอง เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ต้องคำสั่ง โดยมิให้ปฏิบัติกับผู้ต้องคำสั่งเช่นเดียวกับนักโทษเด็ดขาดในเรือนจำ

8. มาตรา 36 เรื่อง กรณีศาลมีคำสั่งให้ใช้มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ แก่ผู้ถูกคุมขังภายหลังพ้นโทษ :  มติที่ประชุม มีการแก้ไขเล็กน้อย

9. มาตรา 40 เรื่อง การนำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม :  มติที่ประชุม มีการแก้ไขเล็กน้อย

10. มาตรา 41 เรื่อง การกำหนดให้พนักงานคุมประพฤติดำเนินการให้มีการเสนอความเห็นไปยังพนักงานอัยการ :  มติที่ประชุม มีการแก้ไข (แก้ไขจาก “กรมคุมประพฤติ” เป็น “พนักงานคุมประพฤติ”)

11. มาตรา 42 เรื่อง การอุทธรณ์ :  มติที่ประชุม รอการพิจารณา โดยมีข้อเสนอให้สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

ทั้งนี้ สรุปภาพรวมของร่างพระราชบัญญัติฯ ทั้งหมดจำนวน 43 มาตรา โดยมีผลการพิจารณา ได้แก่ (1) ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม 30 มาตรา (2) มีการแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 10 มาตรา รวมถึงเหตุผลของร่างฯ  และ (3) รอการพิจารณา 3 มาตรา

100 Views