วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. กระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้นางขัตติยา รัตนดิลก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม เป็นผู้แทนในการสัมมนา “ความคืบหน้ากฎหมายยุติการลงโทษเด็กทางกายในประเทศไทย”(ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก) โดยเป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อ “การดำเนินมาตรการทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร สังคมและการศึกษา เพื่อยุติการลงโทษทางกายและกระทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่าในประเทศไทย” ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 331 อาคารรัฐสภา เพื่อติดตามความก้าวหน้าการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (2) และหาแนวทางดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร สังคมและการศึกษา ในการยุติการลงโทษทางกายและกระทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่า ในการนี้ การจัดสัมนาดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส-วุฒิสภา โดยการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอม (เยอรมันนี) และ BMZ
ในการนี้ นางขัตติยา รัตนดิลก ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความคืบหน้าและการดำเนินมาตรการด้านนิติบัญญัติสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ประเด็นความคืบหน้าของการดำเนินการแก้ไขหลักเกณฑ์กรณีผู้ใช้อำนาจปกครองทำโทษบุตร (มาตรา 1567(2))
– จากที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอร่างกฎหมายมาที่กระทรวงยุติธรรมทั้งหมด 7 ฉบับ นั้น ทางสำนักงานกิจการยุติธรรมได้รับดำเนินการ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 29 พ.ศ. 2565 สำหรับร่างกฎหมาย อีก 6 ฉบับ รวมเรื่อง ลงโทษบุตร กระทรวงยุติธรรม โดยสำนักงานกิจการยุติธรรม ได้ส่งเรื่องคืนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อขอให้ดำเนินการศึกษาความจำเป็นและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นว่าหากทำหรือไม่ทำจะเกิดผลอย่างไรเพื่อนำไปสู่การร่างกฎหมายต่อไป ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. มาตรา 77
2) ประเด็นความเห็นการแก้ไขหลักเกณฑ์กรณีผู้ใช้อำนาจปกครองทำโทษบุตร (มาตรา 1567(2))
– จากเดิมบัญญัติว่า “ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (๒) ทำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน” ประสงค์ให้แก้ไขเป็น “ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (๒) ทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนได้ตามสมควร ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้วิธีเฆี่ยนตี ทำร้ายร่างกาย จิตใจ หรือวิธีการอื่นในทำนองเดียวกัน”
– สกธ.เห็นด้วยกับแนวคิดในการยุติการใช้ความรุนแรงในการลงโทษ และการดำเนินการเพื่อยุติปัญหาเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ที่ได้บัญญัติเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากการถูกกระท่าด้วย ความรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจ ไว้ครอบคลุมแล้ว โดยสามารถใช้บังคับได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเห็นว่า ยังไม่มีความจ่าเป็นที่จะต้องแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์แต่อย่างใด ดังนั้น จึงเห็นควรให้ศึกษากฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันว่ามีสาเหตุหรืออุปสรรคใดที่ทำให้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ที่มีอยู่แล้วไม่สามารถบรรลุผลได้ และในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย จะต้องมีกสรศึกษาให้รอบด้านอย่างแท้จริง
187 Views