วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 น. สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม จัดการประชุมคณะทำงานย่อย ชุดโครงการ การพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 โครงการย่อยที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565 ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมกิจการยุติธรรม 1 (JA1) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะทำงานย่อยชุดโครงการการพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 กลุ่มพัฒนากฎหมายของสำนักงานกิจการยุติธรรม และผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมคุมประพฤติ กรมราชทัณฑ์ และคณะวิจัยจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 29 คน โดยมีสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้
1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมคณะทำงานย่อยฯ ครั้งที่ 1 โดยให้ทราบความเป็นมาและความสำคัญของชุดโครงการการพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 และทราบแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกันระหว่างสำนักงานกิจการยุติธรรม คณะทำงานฯ และคณะผู้เชี่ยวชาญที่รับดำเนินโครงการ
2. คณะวิจัยได้นำเสนอการดำเนินงานการประเมินประสิทธิภาพของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตราการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ ความรุนแรง พ.ศ. 2565 โครงร่างแผนการดำเนินงานและแนวทางการดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชั้นตำรวจ อัยการ ศาลยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และกรมคุมประพฤติเพื่อรายงานให้ที่ประชุมได้ทราบรวมถึงรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำมา สรุปผลการวิจัย ดังนี้
(1) แนวทางในการประเมินประสิทธิภาพของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565
(2) กรอบแนวทางดำเนินการสำรวจ จัดเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในประเด็นกระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 โดยจำแนกตามหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
(3) การใช้แบบแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกโดยกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาวิจัย ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาลยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คณะวิจัยดำเนินการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในด้านต่างๆ เพื่อให้เป็นความรู้ความเข้าใจตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 และสามารถนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ในการมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ดังนี้
(1) ด้านการแพทย์
(2) ด้านนโยบายของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
(3) ด้านกฎหมาย
(4) ด้านกลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
(5) ด้านการจัดเก็บข้อมูลสถิติ โดยประสานคณะทำงานและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยขอให้นำมาเสนอความก้าวหน้าโครงการในการ ประชุมคณะทำงานย่อยครั้งต่อไป