การประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

Picforweb 02

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 น. พันตำรวจโท มนตรี บุณยโยธิน รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม พร้อมด้วยนางสาววริตฐภรณ์ อนุหนายนน์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เข้าร่วมการประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ณ โรงแรมโกลเดน ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพมหานคร

การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติ เรื่อง การบริหารจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการแสดงใบอนุญาตหรือเอกสารเป็นภาพอิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น รวมทั้งแนวทางและวิธีการตรวจสอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งเสริมการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1) ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดย นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวถึงหลักการสำคัญของการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ได้แก่ (1) Digital by Design การวางกลยุทธ์และนโยบายในระดับประเทศที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล (2) Data-driven การใช้ข้อมูลเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนภาครัฐ (3) Government as a Platform รัฐบาลทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางดิจิทัลในการทำงานอย่างบูรณาการ (4) Open by Default มีการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (5) User Driven ให้ผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลางและให้มีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายและพัฒนาการให้บริการภาครัฐ (6) Proactiveness การทำงานเชิงรุก รวมทั้งปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในการเป็นรัฐบาลดิจิทัล

2) การนำเสนอผลการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการแสดงใบอนุญาตหรือแสดงเอกสารหลักฐานเป็นภาพทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น โดย อาจารย์นารถ จันทวงศ์ ที่ปรึกษาโครงการขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแสดงใบอนุญาตหรือแสดงเอกสารหลักฐานเป็นภาพทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นได้ของหน่วยงานในประเทศ คือ ใบอนุญาตขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ ของกรมการขนส่งทางบกและต่างประเทศ ได้แก่ Mobile driver’s license ของเกาหลีใต้ Digital Driving Licence ของออสเตรเลีย และ The Digital ID Card (IC) ของสิงคโปร์

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการ ได้มีข้อเสนอแนะในการพัฒนา ประกอบด้วย การพัฒนา Platform กลางที่ใช้บริหารจัดการระบบข้อมูล/เอกสารอิเล็กทรอนิกส์/การยกระดับการให้สำคัญกับการข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน/การขยายผลในการเสริมสร้างความสามารถและการอำนวยความสะดวกของภาคเอกชนและภาคธุรกิจ/การรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามหลักการ CIA (Confidentiality- Integrity-Avaliability)

3) แนวทางและวิธีการตรวจสอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Audit) โดย นายคณพศ หงสาวรางกูร ผู้ช่วยผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนในการตรวจสอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Audit) ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน ได้แก่ การพัฒนาระบบงานตรวจเงินแผ่นดินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Audit (ปี 2564 – 2567) การเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ (ปี 2566 – 2567) การพัฒนา Platform การมีส่วนร่วมการตรวจเงินแผ่นดินและ Platform การตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น

 

50 Views