วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 สชจ. ร่วมกับ สพก. เดินหน้าจัดโครงการอบรมคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน อย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้เป็นการจัดอบรม รุ่นที่ 4 จัดขึ้น ณ โรงแรมนิวแทรเวิลลอด์จ จ.จันทบุรี
โดยมีนางนรินทิพย์ ศิรวาณิชย์ ผอ.สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าอบรมจากพื้นที่ 6 จังหวัดได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรปราการ
เวลา 10:30 – 12:00 น. วิทยากรจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ บรรยายเรื่อง แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ได้ให้ความรู้เบื้องต้น
หลักของสิทธิมนุษยชน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
– สิทธิของพลเมือง คือ สิทธิทั่วไปที่แต่ละบุคคลได้รับ
– สิทธิทางการเมือง เช่น การแสดงออกทางการเมือง การเลือกตั้ง
– สิทธิทางเศรษฐกิจ เช่น การเลือกทำงานใดๆก็ตาม โดยได้รับค่าจ้าง
– สิทธิทางสังคม
– สิทธิทางวัฒนธรรม การนับถือศาสนา
เวลา 13.00 – 14.30 น. วิทยากรจาก ป.ป.ท. บรรยายหัวข้อ “1206 : ป.ป.ท. call center” โดย สาระสำคัญกล่าวถึงความเป็นมา ที่ก่อตั้ง ป.ป.ท.ขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภารกิจของ สำนักงาน ป.ป.ช. โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลการกระทำการทุจริต และสรุปสำนวนเพื่อส่งฟ้อง รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย
ทั้งนี้ รับผิดชอบในกรณีการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับอำนวยการลงมาโดยการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ มีด้วยกัน 3 ช่องทาง ได้แก่
1. ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนในพื้นที่เกิดเหตุ (สำนักงาน ปปท. เขต 1-9)
2. สายด่วน 1206
3. Website ป.ป.ท
เวลา 14.30 – 17.30 น. ช่วงสุดท้ายของวันนี้ การอภิปราย เรื่อง “เปิดบ้านงานยุติธรรม” โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหาร/ผู้แทนจากภาคีเครือข่ายกระบวนการยุติธรรมระดับจังหวัด ดังนี้
คุมประพฤติ – สอบสวนประวัติผู้กระทำความผิดเพื่อเสนอต่อศาลพิพากษาคดี คดีที่พบมากในจันทบุรี คือ คดีเมาแล้วขับ คดีป่าไม้ สำหรับผู้ถูกคุมประพฤติของจันทบุรีจะทำการติด EM เนื่องจากจันทบุรีมีพื้นทีติดชายแดน ทั้งนี้การคุมประพฤติของจันทบุรี มีการประสานให้ คกก.ศยช. คอยติดตามและดูแลผู้ถูกคุมความประพฤติด้วย
สถานพินิจฯ – ป้องกันการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน ตลอดทั้งสอดส่องควบคุมสถานประกอบการต่างๆ สถานพินิจฯจันทบุรี ให้ความสำคัญมาก คือ การป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน และคดีที่พบมาก คือ คดีเกี่ยวกับการรับรองบุตร
ราชทัณฑ์ – เรือนจำจันทบุรีควบคุมผู้ต้องขัง ผู้ฝากขังและนักโทษเด็กขาดในคดีจำคุกไม่เกิน 25 ปี ถ้าหากเกิน 25 ปีจะส่งตัวไปเรือนจำกลางจ.ระยอง โดยในเรือนจำจันทบุรีจะมีการฝึกวิชาชีพให้กับนักโทษ เช่น ทอเสื่อกก สอนดนตรีไทย เจียระไนพลอย เพื่อให้นักโทษสามารถนำไปประกอบอาชีพได้เมื่อพ้นโทษจากเรือนจำ
บังคับคดี – หน้าที่หลัก คือ การบังคับคดีทางแพ่ง โดยนำทรัพย์สินของผู้ถูกบังคับคดีมาขายทอดตลาดเพื่อชดใช้หนี้ โดยสำนักงานบังคับคดีจ.จันทบุรี ได้ออกให้บรรยายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี,การวางทรัพย์,และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้กับประชาชนในพื้นที่จ.จันทบุรี
กรมสอบสวนคดีพิเศษ – อำนาจหน้าที่ของ DSI
1. ป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2. พัฒนา กฎหมาย กฎระเบียบ รูปแบบ วิธีการ และมาตรการในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. พัฒนาโครงการและการบริหารจัดการองค์กร
4. พัฒนาบุคลากรโดยเสริมสร้างศักยภาพในด้าน ความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และขวัญกำลังใจ
5. ประสานส่งเสริมเครือข่าย ความร่วมมือในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศ