เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2561 เวลา 13.30 น. ณ.ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม 2 ชั้น 8 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธ์ (อาคาร A) ผอ.สกธ. ได้มอบหมายให้ สชจ. เข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือร่วมมือระหว่างกระทรวงยุติธรรม และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เกี่ยวกับการร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีนางกรรณิการ์ แสงทอง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุม
โดยในที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับคดีผู้บริโภค และเพื่อทราบถึงการดำเนินงานของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
การช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย และถูกเอารัดเอาเปรียบ รวมถึงการขอรับการสนับสนุนข้อมูล การดำเนินงานของยุติธรรมจังหวัดและยุติธรรมชุมชน รวมทั้งเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการขอรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากกองทุนยุติธรรม และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
การดำเนินงานของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงแผนผังการปฏิบัติงานการรับเรื่องราวร้องทุกข์
การจัดทำบันทึกความตกลงร่วมมือการดำเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมบังคับคดี สำนักกิจการยุติธรรม สำนักงานกองทุนยุติธรรม และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นการบูรณาการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการให้ความช่วยเหลือ เผยแพร่ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของประชาชนภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของกฎหมาย
การสนับสนุนในส่วนของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลเครือข่าย ข้อมูลทางกฎหมาย ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติ
มีการพัฒนาระบบ IT เพื่อทำการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง สคบ. กับ กระทรวงยุติธรรม และการสร้างกระบวนการจัดทำคู่มือของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อทำการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ และเผยแพร่ให้ประชาชน
การทำ MOU และแผนการดำเนินงานร่วมกัน ในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่
การสร้างกลไลการติดตามงานตามแผนการปฎิบัติงาน
การรับเรื่องร้องทุกข์ของ จนท.สยจ. โดยการคัดกรองและวิเคราะห์จากวิธีการขั้นพื้นฐานโดย การสัมภาษณ์,สอบถาม และบันทึกข้อมูลลงระบบตามแบบฟอร์มการทำ Checklist
การทำหน้าที่ของที่ปรึกษากฎหมาย ต้องมีการทบทวนด้านกฎหมายให้เข้ากับหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.กองทุนยุติธรรม พ.ศ.2558 ม.28(3), พรบ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ.2551 ม.3, พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ม.3
ระยะเวลาการดำเนินงานเมื่อมีการกรอกคำขอรับบริการ รวม 45 วัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• หาข้อมูล 17 วัน
• พิจารณา 20 วัน
• แจ้งผล 7 วัน
• รวม 45 วัน
การวิเคราะห์ถ้าตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่า เรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนเข้ามาใช้บริการเป็นคดีความที่เกี่ยวข้องกับ สคบ.โดยตรงให้ทำการส่งต่อเรื่องให้กับ สคบ.ดำเนินการต่อไป