ยธ.จัดอบรมคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน รุ่นที่ 8 ในวันที่สอง

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561 วันที่สองของการอบรมโครงการอบรมคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน รุ่นที่ 8 ณ โรงแรมไม้หอมวิลล่า อ.เมือง จ.นครสวรรค์

การบรรยายช่วงเช้า โดยสำนักงาน ป.ป.ท. และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

เริ่มต้นด้วย หัวข้อ “1206 : ป.ป.ท. Call Center การสร้างความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ”
สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นองค์กรหลักของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐตาม พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2511
1.เขตอำนาจการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
2.องค์กรดำเนินการ
3.การไต่สวนข้อเท็จจริง
4.มาตรการสนับสนุนการป้องกันและปราบปราม
โดยเมื่อพบเห็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตประพฤติมิชอบ แจ้งเบาะแสร้องเรียน ป.ป.ท. ได้ 3 ช่องทาง
– ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนที่สำนักงาน ป.ป.ท. ในพื้นที่เกิดเหตุ
– สายด่วน 1206
– Website ของสำนักงาน ป.ป.ท.

ต่อด้วย หัวข้อ “เรื่อง แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3”
สิทธิมนุษยชนเป็นกระบวนการที่ต้องมีทั้งภาครัฐและภาคประชาชนเป็นการขับเคลื่อนแผนสิทธิฯ ตามวาระแห่งชาติ โดยแบ่งเป็น 5 หลัก
1.ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2.ความเสมอภาค
3.การไม่เลือกปฎิบัติ
4.เป็นสากล
5.แบ่งแยกไม่ได้

การบรรยายช่วงบ่าย เป็นการจัดเวทีอภิปราย 2 หัวข้อ ดังนี้
1. เราช่วยคุณได้ : เครือข่ายอาสาสมัครยุติธรรม โดยคณะวิทยากรจากองค์กรภาครัฐที่เข้ามามีส่วนช่วยเหลือชุมชน
– สภาเกษตรกร : เป็นองค์กรของอาชีพเกษตรกร โดยมีตัวแทนของเกษตรกรจากระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด สู่ระดับชาติ มุ่งเน้นปัญหาเกษตรกรให้เข้าสู่ภาครัฐ และเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเกษตรกร
– สชง. : การช่วยเหลือให้ผู้ที่ถูกละเมิดให้ได้รับการชดเชยโดยภาครัฐ ผู้เสียหายสามารถขอรับค่าทดแทนได้ จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
– กองทุนยุติธรรม : เข้ามาช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนเพื่อเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในด้านของค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีต่างๆ
– กองทุนหมู่บ้าน : เป็นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประชาชน เพื่อเป็นแหล่งเงินกู้ให้ประชาชนในชุมชนไปประกอบอาชีพ มีการฝากเงิน การออมเงิน คล้ายกับธนาคารทั่วไป ประโยชน์ที่ได้รับจากดอกเบี้ยรายได้ที่เข้ามาจะนำมาบูรณาการต่างๆในชุมชน เช่นสาธารณูปโภค

2.เปิดบ้านงานยุติธรรม (หน่วยงานเพื่อการอำนวยความยุติธรรมในพื้นที่) โดยผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
– กรมราชทัณฑ์ : การบูรณาการร่วมกับสำนักงานยุติธรรมจังหวัด เข้ามามีบทบาทเมื่อผู้ต้องขังถูกปล่อยตัวจากเรือนจำ และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด มีหน้าที่ในการติดตามว่าผู้ต้องขังที่ได้ออกมาสู่สังคม อยู่ร่วมกับคนในชุมชนได้หรือไม่ และมีแนวโน้นจะกลับไปกระทำผิดซ้ำอีกไหม และมีการจัดตั้งศูนย์ในการฝึกอาชีพให้ผู้ต้องหาที่ออกมา มีงานทำ มีเงินทุนให้ เป็นต้น
– กรมคุมประพฤติ : ความเชื่อมโยงระหว่างกรมคุมประพฤติ กับ ศูนย์ยุติธรรมชุมชน โดยเครือข่ายเข้าไปดูแลให้คำปรึกษาและช่วยเหลือฟื้นฟู ที่ทางคุมประพฤติได้ส่งให้ หรือ อำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่ในการให้ถอยคำเกี่ยวกับข้อมูลผู้ที่ถูกส่งกลับชุมชน
– สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน : จัดมีโครงการแบบไร้รอยต่อ คืนเด็กดีสู่สังคมไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ โดยให้เด็กเข้ารับการฝึกอบรม 1 ปี และคัดเลือกออกไปเพื่อให้สู่สังคมและมีอาชีพ มีงานทำ
– กรมบังคับคดี : การสร้างการรับรู้ให้กับชุมชนในพื้นที่ เกี่ยวกับปัญหาหนี้ การกู้นอกระบบ การเป็นหนี้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเช่าซื้อที่ดิน การจำนำที่ดิน โดยสำนักงานยุติธรรมจังหวัดจะมีเจ้าหน้าที่ค่อยให้คำปรึกษาเพื่อค่อยช่วยแก้ไขปัญหาจากจุดเริ่มต้น และส่งต่อประสานกับหน่วยงานส่วนช่วยเหลือต่อไป

100 Views