การประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อเสนอและรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนกลไกการเผยแพร่ และการสร้างการรับรู้ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย

new 2 3

 

วันที่ 17 มกราคม 2563 สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับทางที่ปรึกษา บริษัท ไนส์คอร์ป เอส.อี. จำกัด จัดประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อเสนอและรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนกลไกการเผยแพร่ และการสร้างการรับรู้ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม โดยมีผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วนจำนวน 14 องค์กร กว่า 30 คน จากภาคเอกชน​ มหาวิทยาลัยชั้นนำ​ ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน

การจัดประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่านรองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (นางสาวนันทรัศมิ์ เทพดลไชย) เป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน โดยได้กล่าวถึงการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของกระทรวงยุติธรรม นโยบายสร้างการรับรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม​ ตลอดจนให้สัมภา​ษณ์ในทิศทางที่ทางสกธ.มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง​ เริ่มต้นจากการปลูกฝัง​ mindset จากหน่วยเล็กๆของทุกคนในสังคม​ ร่วมสร้าง​ culture of lawfulness ทำให้เรื่องระบบยุติธรรม​เป็นเรื่องที่ง่าย​ เข้าถึงได้​และเป็นเรื่องของทุกคน​ ท่านเปิดใจถึงแนวทางความร่วมมือที่อยากเห็นมากขึ้นระหว่าง​ สกธ.และภาคส่วนต่างๆ​ โดยไม่ว่าจะภาคส่วนใด​ หากเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญและเป็นประโยชน์​ ความร่วมมือร่วมใจจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน​ และไม่มีกรอบกำหนดที่ยุ่งยาก​ ซับซ้อน​ และขอเชิญชวน​ทุกองค์กร​ที่มีใจมาร่วมกันทำงาน​ สร้างสรรค์​สังคมที่ท่านอยากเห็นด้วยกัน

การเปิดเวทีเพื่อระดมความเห็นและทิศทางโดยทีมที่ปรึกษานำโดยคุณสกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ กิจการเพื่อสังคม NISE​ มาวางกระบวนการ​พร้อมด้วย ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้ก่อตั้ง Social Lab
คุณศุภอัชฌ์ ชาตรูปะวณิช ที่ปรึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ประชาสัมพันธ์และออนไลน์มาให้ความรู้ในส่วน Digital Marketing และดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล บรรณาธิการ Green Innovation & SD และ Godd Health & Well-being จากธุรกิจสื่อในเครือผู้จัดการ อีกทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาที่ยั่งยืนและการสื่อสาร ช่วยให้ความรู้ในส่วนของการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสาร คุณณัฐพล กีรติพันธวงศ์ และธัญชนิต ลิ้มสุวรรณ จากบริษัท ผัสสะ อินสตอลเลชัน อาร์ต จำกัด มาร่วมกันเขย่ามุมมอง ทิศทางการดำเนินงาน นวัตกรรมไอเดียที่จะปรับโฉม สกธ.กับบทบาทที่มีความชัดเจน และกลยุทธ์เชิงรุก ร่วมบูรณาการองค์ความรู้จากภาคส่วนต่างๆ มาตอบสนองประเด็น ความต้องการและข้อท้าทายของสังคมได้อย่าง เข้าถึง ชัดเจน ถูกต้อง ฉับพลัน

สำหรับผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วนจำนวน 14 องค์กร รวมจำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
• ภาคการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
• ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เช่น บริษัทกรุงไทยกฎหมาย จำกัด สมาคมธนาคารไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และบริษัทที่ปรึกษากฎหมายฉัตร์ธรรม
• หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมและสื่อมวลชน เช่น กลุ่มสื่อสารองค์กร กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และนิด้าโพล

ทั้งนี้ สกธ.คาดจะจัดกิจกรรมรับฟังความเห็นและร่วมกิจกรรมกับภาคีดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดปี

77 Views