เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 นายชัยวัฒน์ ร่างเล็ก รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการบูรณาการภารกิจขององค์กรในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่การบริหารราชการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดในการบูรณาการการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน การนำเครื่องมือ KPIs มาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งบุคลากรได้ร่วมกันวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการบูรณาการการทำงานเพื่อขับเคลื่อนผลผลิตหลัก ของ สกธ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยสามารถสรุปประเด็นได้ ดังนี้
1. วิทยากรได้ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง Design Thinking/การบริหารเชิงกลยุทธ์/ การกำหนด KPIs ที่ต้องมีการกำหนดในทุกระดับของการบริหาร (ทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ)/ การดำเนินงานที่ควร focusให้ชัดว่ามุ่งเน้น Agenda Base – Function Base – Area Base/ การกำหนด KPIs ที่ควบค่ไปกับการประเมิน Competency รวมทั้งให้ข้อคิดเรื่องบุคลากรมีประเภทที่หลากหลาย ดังนั้นหลักการพัฒนาบุคลากรที่ยั่งยืน คือการพัฒนา Mind set
2. วิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ วิเคราะห์เป้าหมาย และกำหนดวิธีการบูรณาการการทำงานร่วมกันภายใน สกธ. ตามนโยบายเน้นหนักของ สกธ. ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 9 นโยบาย โดยมีประเด็นนโยบายของ สกธ. และเป้าหมายเบื้องต้นที่ร่วมกันวิเคราะห์ ดังนี้
(1) การดำเนินงานของ ศอช. เป้าหมาย : มี Application on Mobile (Phototype)
(2) โนตารีพับบลิค เป้าหมาย : การจัดตั้ง SDU ในการเป็นหน่วยงานในการควบคุมคุณภาพ คน การอบรม การ Update หลักสูตรสภาทนายความ ศาล การดำเนินการเชื่อมโยงกับโนตารีของประเทศไทย และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
(3) Non Custodial เป้าหมาย : การผลักดันประเด็นเรื่อง
Non Custodial กลับไปยัง กพยช. โดย เสนอผ่าน ยธ. ไปยัง กพยช.
(4) หลักสูตร LEI+ เป้าหมาย : จัดการฝึกอบรม โดยให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมฝึกใช้งานเครื่องมือ LEI โดยนำกฎหมายที่หน่วยงานตนเองดำเนินการอยู่มาใช้ประเมินจริง
(5) SDG16 เป้าหมาย :มี Platform ในการดำเนินงานให้เป็น Pattern แนวทางการดำเนินงานทิศทางเดียวกัน ทั้ง ยธ.และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำสู่เป้าหมายปี 2030
(6) ประเมินผลหลักสูตร พรบ.ไกล่เกลี่ยฯ ปี 2562 เป้าหมาย : มีการประเมินหลักสูตร
(7) กพยจ. เป้าหมาย : มี Platform ในบทบาทการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสามส่วน คือ กพยช. – ยธ. – กพยจ. ให้สอดคล้องไปในทิศทางที่สนับสนุนส่งเสริมกัน
(8) ประชาชนรับรู้และเข้าใจกฎหมาย เป้าหมาย : มีการประเมินความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายในเรื่องที่ได้มีการสร้างการรับรู้ รวมทั้งการประเมินในมิติผลลัพธ์
(9) หน่วยงานนำกรอบวิจัยไปปฏิบัติ เป้าหมาย : การผลักดันให้หน่วยงานอื่นนำกรอบการวิจัยของ สกธ. ไปใช้เป็นกรอบการวิจัยของตนเอง
ซึ่งท่านวิทยากรและผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและวิเคราะห์รายะเอียดเป้าหมายของนโยบาย และกำหนดการบูรณาการการทำงานกันระหว่างสำนักกอง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะสรุปข้อมูล เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการจัดทำ KPIs ระดับต่างๆของหน่วยงานต่อไป