ร่าง พระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม พ.ศ. ….
“เอกสารประกอบ
รายงานผลการศึกษาประกอบร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม พ.ศ. ….
ประเด็นการรับฟังความคิด
ประเด็นการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม พ.ศ. ….
1. ความเหมาะสมในการกำหนดนิยามคำว่า “ประวัติอาชญากรรม” ตามร่างมาตรา 5
ซึ่งกำหนดว่าเป็นข้อมูลของบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดในคดีอาญา
2. การกำหนดให้ “สำนักงานศาลยุติธรรม” เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรมตามร่างมาตรา 7 และให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นนายทะเบียนตามร่างมาตรา 5
3. การกำหนดให้การเปิดเผยประวัติอาชญากรรมตามร่างมาตรา 9 คือ เปิดเผยต่อเจ้าของประวัติและเปิดเผยต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคุณสมบัติหรือแต่งตั้งหรือขึ้นทะเบียนหรือรับใบอนุญาตมีความเหมาะสมหรือไม่
4. การกำหนดลักษณะความผิดทั้ง 13 ประเภทความผิดตามร่างมาตรา 11 ที่จะต้องมีการเปิดเผยประวัติอาชญากรรมตลอดไป (ไม่ได้รับการยกเว้น) เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยให้กับสังคม มีความเหมาะสมแล้วหรือไม่ ควรเพิ่มเติมหรือลดฐานความผิดใดหรือไม่เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
5. การกำหนดให้ “การไม่เปิดเผยประวัติอาชญากรรม” ตามร่างมาตรา 12 (2) สำหรับผู้ที่เคยกระทำผิดและได้พ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่กระทำความผิดใดขึ้นอีกในระหว่างระยะเวลานั้น หรือมิได้อยู่ระหว่างถูกกักขังหรืออยู่ภายใต้การควบคุมของพนักงานสอบสวน เพื่อให้โอกาสผู้กระทำผิดได้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
6. การกำหนดให้การกระทำความผิดโดยประมาท ความผิดลหุโทษ ความผิดที่มีโทษจำคุก
ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามร่างมาตรา 12 (3) ซึ่งเป็นการกระทำความผิดเล็กน้อย
ไม่จำเป็นต้องมีการเปิดเผยประวัติอาชญากรรมมีความเหมาะสมแล้วหรือไม่
7. บทลงโทษบุคคลที่กระทำผิดตามร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม พ.ศ. ….
ตามร่างมาตรา 14 มีความครอบคลุมแล้วหรือไม่ อย่างไร
แสดงความคิดเห็น