วารสารกระบวนการยุติธรรม (Journal of Thai Justice System) เป็นวารสารวิชาการที่จัดทำขึ้นตามภารกิจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ซึ่งมีหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม ดังนั้น สำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ จึงได้จัดทำวารสารกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นวารสารราย 4 เดือนขึ้น โดยเริ่มดำเนินการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2551 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ตลอดจนนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และส่งเสริมให้เกิดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เดิมเพื่อพัฒนางานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ในด้านการบริหารงานยุติธรรม ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารจัดการองค์กรในกระบวนการยุติธรรม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้สนใจหรือสาธารณชนได้รับรู้อีกด้วย ที่ผ่านมา วารสารกระบวนการยุติธรรมได้จัดพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัยด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยมีกองบรรณาธิการประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ นักวิชาการในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องพิจารณากลั่นกรองบทความ และได้ดำเนินการเผยแพร่สู่สถาบันการศึกษา หน่วยงาน ตลอดจน สาธารณชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
วารสารกระบวนการยุติธรรม ได้เสนอเข้ารับการประเมินคุณภาพวารสารจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในปี 2556 โดย TCI ได้ประกาศผลการประเมินคุณภาพ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ให้วารสารกระบวนการยุติธรรมถูกจัดให้เป็นวารสารกลุ่มที่ 2 ในฐานข้อมูล TCI สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 วารสารกระบวนการยุติธรรมได้รับแจ้งผลการประเมินคุณภาพวารสารให้เป็นวารสารกลุ่มที่ 1 ในฐานข้อมูล TCI โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลการศึกษาวิจัย ตลอดจนองค์ความรู้ทางด้านกระบวนการยุติธรรม กฎหมาย และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไปสู่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไปทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
2. เพื่อเป็นเวทีหรือเป็นสื่อกลางสำหรับการแนะนำและนำเสนอผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่หรือความเห็นทางวิชาการ องค์ความรู้ใหม่ด้านกระบวนการยุติธรรม กฎหมาย และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านบทความทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพของนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป
3. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติที่จะสามารถนำไปอ้างอิง ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ ตลอดจนเกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม
นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์
1. บทความที่จะตีพิมพ์ลงวารสารกระบวนการยุติธรรม จะต้องเป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
2. บทความที่เสนอมาเพื่อตีพิมพ์ลงวารสารกระบวนการยุติธรรมจะต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) 3 ท่านต่อบทความ ก่อนได้รับการตีพิมพ์
กระบวนการพิจารณาบทความ : วารสารกระบวนการยุติธรรมกำหนดให้มีรูปแบบการพิจารณาบทความแบบ double-blinded ซึ่งผู้พิจารณา ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double – blind peer review) โดยฝ่ายเลขานุการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความประเมินคุณภาพทางวิชาการของบทความ 3 ท่านต่อบทความ โดยพิจารณาบทความแบบ Double–blind peer review และจะติดต่อผู้เขียนในกรณีมีข้อแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ทางผู้เขียนนำไปดำเนินการแก้ไข เมื่อผู้เขียนแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้จัดส่งบทความทางระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tci-thaijo.org/index.php/JTJS ของวารสารกระบวนการยุติธรรมอีกครั้ง
ประเภทบทความ : บทความวิจัย หรือ บทความวิชาการทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ภาษาที่รับตีพิมพ์ : ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ
โดยมีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ
ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน
ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม
หมายเลข ISSN
Print ISSN: 1906-3253
Online ISSN: 2697-4037
กองบรรณาธิการ
พันตำรวจโท ดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ
ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม
นายชัยวัฒน์ ร่างเล็ก
รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม
กองบรรณาธิการภายในสำนักงานกิจการยุติธรรม
นายสายชล ยังรอด
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผน
นายไชยสุวัฒน์ ถุงเงิน
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาระบบงานยุติธรรม
ดร.ขัตติยา รัตนดิลก
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม
ดร.จิติยา พฤกษาเมธานันท์
สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม
พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศาสตราจารย์ ดร.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ ดร.คณพล จันทน์หอม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์
นักวิชาการอิสระ
ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง ดร.พัชรา สินลอยมา
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล
มหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนุช เงินคล้าย
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รองศาสตราจารย์ ดร.ประธาน วัฒนวาณิชย์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รองศาสตราจารย์ พลตำรวจตรี ดร.กิตติ์ธนทัต เลอวงศ์รัตน์
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รองศาสตราจารย์อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์
นักวิชาการอิสระ
รองศาสตราจารย์ ดร.อุนิษา เลิศโตมรสกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี วรภัทร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศ์จิรา เชิดชู
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช บวรสมพงษ์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พันตำรวจตรี ดร.ชวนัสถ์ เจนการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นางน้ำผึ้ง ปูรณะสุคนธ
นักวิชาการอิสระ
นางอุษา จั่นพลอย บุญเปี่ยม
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
นางสาวสุวดี ไหลพึ่งทอง
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
นางสาวเปรมมิศา หนูเรืองงาม
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
นางสาวปริยานุช จริงจิตร
ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
นางสาวปริยานุช สันติวงษ์
หัวหน้ากลุ่มสื่อสารองค์กร
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์ (Publication Ethics)
การดำเนินงานของกองบรรณาธิการวารสารกระบวนการยุติธรรมได้กำหนดจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารกระบวนกระบวนการยุติธรรม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กองบรรณาธิการวารสารกระบวนการยุติธรรม ผู้พิจารณาบทความ และผู้เขียนบทความ
กองบรรณาธิการวารสารกระบวนการยุติธรรม
กองบรรณาธิการวารสารกระบวนการยุติธรรมพึงมีความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานตีพิมพ์เผยแพร่วารสารกระบวนการยุติธรรม ดังนี้
กองบรรณาธิการจะพัฒนาการบริหารจัดการ และยกระดับวารสารกระบวนการยุติธรรมให้มีคุณภาพอยู่เสมอ
กองบรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้พิจารณาบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
กองบรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ และผู้พิจารณาบทความ
กองบรรณาธิการจะต้องไม่ตีพิมพ์ผลงานของตนเองอย่างมีนัยสำคัญ
หากกองบรรณาธิการพบว่า บทความมีการลอกเลียน มีการปลอมแปลงข้อมูล หรือบทความมีความซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ซึ่งสมควรถูกถอดถอนบทความ กองบรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียนบทความ กองบรรณาธิการจะทำการชี้แจง แก้ไข ทำความกระจ่างให้เกิดขึ้น และขออภัยด้วยความเต็มใจกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด
ผู้พิจารณาบทความ ( Peer Review)
ผู้พิจารณาบทความวารสารกระบวนการยุติธรรมจะต้องพิจารณาบทความให้มีคุณภาพอยู่เสมอ เพื่อให้วารสารกระบวนการยุติธรรมรักษาไว้ซึ่งคุณภาพทางวิชาการ ดังนี้
ผู้พิจารณาบทความจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
ผู้พิจารณาบทความ ต้องมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความ ในสาขาวิชานั้นๆ ในเชิงวิชาการ อย่างเข้มข้น อีกทั้งไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ ในการตัดสินบทความ
เมื่อผู้พิจารณาบทความพบว่า บทความมีความซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้พิจารณาบทความจะแจ้ง ให้กองบรรณาธิการทราบ
ผู้พิจารณาบทความจะไม่รับพิจารณาบทความที่ตนเองมีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น บทความ ที่ตนเองมีส่วนร่วม หรือมีความสัมพันธ์กับผู้เขียน/หน่วยงานที่จะมีผลต่อการประเมินบทความอย่างสำคัญ
ผู้เขียนบทความจะต้องมีความรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง ดังนี้
ผู้เขียนบทความจะต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมายังวารสารกระบวนการยุติธรรมไม่ใช่บทความแปล หรือบทความซ้ำ ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน หากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เขียนบทความจะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
ผู้เขียนบทความได้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงวารสารกระบวนการยุติธรรมของสำนักงานกิจการยุติธรรมเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ผู้เขียนบทความจะส่งบทความตามรูปแบบที่วารสารกระบวนการยุติธรรมกำหนด
ผู้เขียนบทความจะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิง ทั้งรูปแบบและเนื้อหาของการอ้างอิง และไม่นำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในบรรณานุกรม
หลักเกณฑ์สำหรับการส่งบทความ
หลักเกณฑ์สำหรับการส่งบทความ
คำแนะนำผู้แต่ง รายละเอียดคำแนะนำในการเตรียมและการส่งต้นฉบับ
ผู้เขียนบทความจะปรับแก้ไขบทความตามผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด หากไม่รับแก้ผู้เขียนจะต้องชี้แจ้งเหตุผลมายังกองบรรณาธิการอย่างเป็นทางการ
ผู้เขียนบทความจะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิง ทั้งรูปแบบและเนื้อหาของการอ้างอิง และไม่นำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในบรรณานุกรม
ผู้เขียนบทความจะส่งบทความตามรูปแบบที่วารสารกระบวนการยุติธรรมกำหนด
ผู้เขียนบทความได้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงวารสารกระบวนการยุติธรรมของสำนักงานกิจการยุติธรรมเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ผู้เขียนบทความจะต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมายังวารสารกระบวนการยุติธรรมไม่ใช่บทความแปลหรือบทความซ้ำ ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน หากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้เขียนบทความจะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
หลักเกณฑ์สำหรับผู้สนใจส่งบทความมาลงวารสารกระบวนการยุติธรรม
เป็นบทความวิจัย หรือบทความวิชาการทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการเสนอขอลงพิมพ์ในวารสาร/สิ่งพิมพ์อื่น ไม่ใช่บทความแปล หรือบทความซ้ำ ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อนหากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เขียนบทความจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
วารสารกระบวนการยุติธรรมกำหนดให้มีรูปแบบการพิจารณาบทความแบบ double-blinded ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double–blind peer review)
เนื้อหาต้นฉบับเป็นผลงานที่สรุปแล้วมีความยาว 10– 20 หน้า (A4) อักษรภาษาไทยพิมพ์ด้วย TH Saraban PSK ขนาด 16 อักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วย Times New Roman ขนาด 12 ในส่วนของการอ้างอิงใช้รูปแบบ APA โ ดยผู้เขียน จะต้องจัดรูปแบบ บทความ ให้ถูกต้องตามที่ วารสาร กระบวนการยุติธรรม กำหนด ก่อนการส่งต้น ฉบับ
การส่งต้นฉบับผู้เขียนต้องลงทะเบียนในระบบออนไลน์โดยผ่านเว็บไซต์ www.tci-thaijo.org/index.php/JTJS พร้อมแนบเอกสาร ดังนี้
5.1 บทความวิจัย หรือบทความวิชาการ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Word เท่านั้น
5.2 แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารกระบวนการยุติธรรม (ดาวน์โหลดเอกสาร)
บทความที่ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนดจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความประเมินคุณภาพทางวิชาการ 3 ท่านต่อความ โดยพิจารณาบทความแบบ Double–blind peer review และจะติดต่อผู้เขียนในกรณีมีข้อแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ทางผู้เขียนนำไปดำเนินการแก้ไข เมื่อผู้เขียนแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้จัดส่งบทความทางระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของวารสารกระบวนการยุติธรรมอีกครั้ง
เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารกระบวนการยุติธรรม วารสารฯจะนำส่งวารสารฯ ให้กับผู้เขียน จำนวน 2 เล่ม
การอ้างอิงท้ายเล่ม หรือ บรรณานุกรม (Bibliography)
1. บทความในวารสาร(Journal Article)
1.1 บทความ วารสาร
ชื่อวารสาร และปีที่ ใช้ตัวเอียง
ชื่อผู้เขียน. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร , ปีที่ (ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
1.2 บทความวารสารที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ใช้คำว่า “ ค้น เมื่อ ” ตามด้วยวัน เดือน ปีที่สืบค้น, “ จาก ” ตามด้วยลิงค์ สำหรับเอกสารภาษาไทย หรือ “Retrieved” ตามด้วยเดือนที่สืบค้น วันที่สืบค้น, ปีที่สืบค้น, “from” ตามด้วยลิงค์ สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ
ชื่อวารสาร และปีที่ ใช้ตัวเอียง และ หลัง http:// ไม่ใ ส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
ชื่อผู้เขียน. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร , ปีที่ (ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. ค้นเมื่อ วัน เดือน ปีที่สืบค้น, จาก http://
2. บทความในนิตยสาร หรือ หนังสือพิมพ์ ( Magazine / Newspaper )
ชื่อนิตยสาร หรือ หนังสือพิมพ์ และ ปีที่ ใช้ตัวเอียง
ชื่อผู้เขียน. (วัน เดือน ปี). ชื่อบทความ. ชื่อนิตยสาร หรือ หนังสือพิมพ์ , ปีที่ ,หน้า.
3. หนังสือ ( Book )
ชื่อหนังสือ ใช้ตัวเอีย ง
ชื่อผู้เขียน. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
4. บทหนึ่งในหนังสือ ( Chapter in book ) เป็นการอ้างอิงจากเนื้อหาที่มีผู้เขียนเฉพาะบทนั้นๆ และมีชื่อบรรณาธิการที่หน้าปกของหนังสือ
ชื่อหนังสือ ใช้ตัวเอียง
ชื่อผู้เขียนในบท. (ปีพิมพ์). ชื่อบท. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ),ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์,หน้าแรก-หน้าสุดท้าย ของบท). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E-Book ) จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อหนังสือ ใช้ตัวเอียง
ชื่อผู้เขียน. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ . ค้นจาก http://
6. พระราช บั ญญัติ
ราชกิจจานุเบกษา และเล่มที่ ใช้ตัวเอียง
พระราชบัญญัติ พ.ศ.ปี. (ปีพิมพ์). ราชกิจจานุเบกษา , เล่มที่ (ตอนที่), หน้า.
7. รายงานการประชุม / การสัมมนา / อภิปราย
ชื่อการประชุม ใช้ตัวเอียง
ชื่อหน่วยงานที่จัดประชุม. (ปีพิมพ์). ชื่อการประชุม . สถานที่จัดประชุม.
8. วิทยานิพนธ์ ( Theses & Dissertations )
ชื่อวิทยานิพนธ์ ใช้ตัวเอียง
ชื่อผู้เขียน. (ปีพิมพ์).ชื่อวิทยานิพนธ์ . ระดับวิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัย.
9. เอกสารจากเว็บไซต์ ( Web site ) ใช้คำว่า “ ค้น เมื่อ ” ตามด้วยวัน เดือน ปีที่สืบค้น, “ จาก ” ตามด้วยลิงค์ สำหรับเอกสารภาษาไทย หรือ “Retrieved” ตามด้วยเดือนที่สืบค้น วันที่สืบค้น, ปีที่สืบค้น, “from” ตามด้วยลิงค์สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ
ชื่อเรื่อง ใช้ตัวเอียง และหลัง http:// ไม่ ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
ชื่อผู้เขียน. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง . วัน เดือน ปีที่สืบค้น, จาก http://
แบบฟอร์มการเสนอบทความ
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารกระบวนการยุติธรรม แต่ความคิดเห็นที่ปรากฏในเนื้อหาของบทความในวารสารกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
รวมวารสาร
รวมวารสาร
ปีที่ 15 เล่มที่ 3
ปีที่ 15 เล่มที่ 2
ปีที่ 15 เล่มที่ 1
ความเปลี่ยนแปลงของโทษประหารชีวิตในพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ (ธนพนธ์ โศจิพลกุล) (119 downloads)
มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากับการจัดการ มรดกทางวัฒนธรรม (ปกาศิต เจิมรอด) (85 downloads)
3 ปี กพยจ. : การขับเคลื่อนนโยบายยุติธรรมจากรัฐสู่พื้นที่ (ชวนัสถ์ เจนการ, อุกฤษณ์ กฤตยโสภณ, ภัควัฒน์ ภูริพงศ์ธนวัต, ปาณิสรา อ่อนโพธิ์ทอง, ณิศ์ชากมล คงศรี) (172 downloads)
การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจากกรณีการเผยแพร่ภาพอนาจารส่วนบุคคลโดยปราศจากความยินยอม (รัชนี แตงอ่อน) (90 downloads)
การศึกษาขอบเขตของงานนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยและจำนวนผู้ปฏิบัติงาน นิติวิทยาศาสตร์แยกรายสาขา (อัคคกร ไชยพงษ์, วชิรวิชญ์ อิทธิธนาศุภวิชญ์, นิรมล ยินดี, วรชาติ เกลี้ยงแก้ว, ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย) (133 downloads)
การติดตามและการประเมินผลการบังคับใช้พระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ผ่านเครื่องมือการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย (ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล, ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน, พรเพ็ญ ไตรพงษ์) (75 downloads)
แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน (ปิยะพร ตัณนีกุล, น้ำแท้ มีบุญสล้าง, วชิรวิชญ์ อิทธิธนาศุภวิชญ์) (95 downloads)
บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันปัญหาอาชญากรรม (สุมนทิพย์ จิตสว่าง, นัทธี จิตสว่าง, แสงโสม กออุดม) (96 downloads)
การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของเยาวชน (รวีพร จรูญพันธ์เกษม, ดารณี ธัญญสิริ, จุติพร ปริญโญกุล, สุพินดา สุวรรณศรี) (62 downloads)
ปัญหาในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 (สาธิตา วิมลคุณารักษ์, วรรณวิภา เมืองถ้ำ) (84 downloads)
ปีที่ 14 เล่มที่ 3
ปีที่ 14 เล่มที่ 2
ปีที่ 14 เล่มที่ 1
ปีที่ 13 เล่มที่ 3
ปีที่ 13 เล่มที่ 2
ปีที่ 13 เล่มที่ 1
ปีที่ 12 เล่มที่ 2
ปีที่ 12 เล่มที่ 1
ปีที่ 12 เล่มที่ 3
ปีที่ 11 เล่มที่ 3
ปีที่ 11 เล่มที่ 2
ปีที่ 11 เล่มที่ 1
ปีที่ 10 เล่มที่ 3
ปีที่ 10 เล่มที่ 2
ปีที่ 10 เล่มที่ 1
ปีที่ 9 เล่มที่ 3
ปีที่ 9 เล่มที่ 2
ปีที่ 9 เล่มที่ 1
ปีที่ 8 เล่มที่ 3
ปีที่ 8 เล่มที่ 2
ปีที่ 8 เล่มที่ 1
ปีที่ 7 เล่มที่ 3
ปีที่ 7 เล่มที่ 2
ปีที่ 7 เล่มที่ 1
ปีที่ 6 เล่มที่ 3
ปีที่ 6 เล่มที่ 2
ปีที่ 6 เล่มที่ 1
ปีที่ 5 เล่มที่ 3
ปีที่ 5 เล่มที่ 2
ปีที่ 5 เล่มที่ 1
ปีที่ 4 เล่มที่ 4
ปีที่ 4 เล่มที่ 3
ปีที่ 4 เล่มที่ 2
ปีที่ 4 เล่มที่ 1
ปีที่ 3 เล่มที่ 4
ปีที่ 3 เล่มที่ 3
ปีที่ 3 เล่มที่ 2
ปีที่ 3 เล่มที่ 1
ปีที่ 2 เล่มที่ 4
ปีที่ 2 เล่มที่ 3
ปีที่ 2 เล่มที่ 2
ปีที่ 2 เล่มที่ 1
ปีที่ 1 เล่มที่ 2
ปีที่ 1 เล่มที่ 1
ติดต่อ
กองงานคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ สำนักงานกิจการยุติธรรม อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
ผู้รับผิดชอบหลัก
นายอดิศักดิ์ จันทวิรัช
เบอร์โทรศัพท์ 02 141 3741
E-mail : ncjad.oja@gmail.com
2,966 Views