การพัฒนากระบวนการยุติธรรม

แผนแม่บท

ด้วยพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ได้กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติจัดทำแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมขึ้น ทั้งนี้กระทรวงยุติธรรมโดยสำนักงานกิจการยุติธรรมในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ได้มีการจัดทำแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ สำหรับใช้เป็นกรอบแนวทางการประสานความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรมให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของสังคมได้อย่างแท้จริง

SDGs เป้าหมายที่16

สกธ. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงยุติธรรม ให้เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 PEACE JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONS ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดรับชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

งบบูรณาการ

งบประมาณในลักษณะบูรณาเชิงยุทธศาสตร์แผนงานการปฏิรูปกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานยุติธรรม โดยปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก พัฒนาระบบการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล พัฒนากลไกการเตือนภัยและป้องกันอันตรายจากสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัยรวมทั้งช่วยเหลือให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วยความสะดวก รวดเร็ว เสมอภาค และเป็นธรรม

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

การดำเนินการจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นหนึ่งในการดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในส่วนของการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม  โดยเริ่มจากการกำหนดให้มีการประเมินประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมใทยในด้านต่างๆ โดยใช้ชุดตัวชี้วัดที่มีมาตรฐาน ครอบคลุม มีความเป็นสากล และสะท้อนถึงการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมในแต่ละด้าน

สำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการปฏิรูปตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) ได้ประสานการดำเนินงาน เพื่อจัดทำกรอบตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 7 ด้าน โดยมีแผนที่จะดำเนินการพัฒนารายละเอียดตัวชี้วัด กระบวนการจัดเก็บ และวิธีการใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดต่อไป ในช่วงปี พ.ศ. 2561

กรอบป้องกันอาชญากรรม

มติคณะรัฐมนตรี

“อาชญากรรม” เป็นปัญหาที่สำคัญ นับวันยิ่งทวีความรุนแรงและมีการพัฒนารูปแบบอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปกติสุขของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งผลกระทบต่อความรู้สึกไม่ปลอดภัยและสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน สำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ได้เสนอกรอบแนวทางในการป้องกันอาชญากรรม 6 ด้าน และดำเนินการขับเคลื่อนในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ โดยการแบ่งกลุ่มจังหวัดตามบริบทของพื้นที่ และจัดทำโมเดลในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม 6 โมเดล เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

โรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์

โครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ ถือเป็นโครงการสำคัญของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งดำเนินโครงการฯ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพคน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ด้านการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ โดยการปรับเปลี่ยนคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินงานภายใต้โครงการโรงเรียนยุติธรรมอุถัมภ์ ดำเนินไปอย่างสำเร็จลุล่วง จึงได้กำหนดให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมดำเนินโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์

หลักสูตรการฝึกอบรม

สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม พัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมโดยมุ่งส่งเสริมให้การบริหารและการปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างบูรณาการมีการประสานความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพ เกิดการปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบและมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม

การพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม

การที่จะพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการ นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและสมควรที่จะมีการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติได้ นอกจากนี้ได้มีการคำนึงถึงการเตรียมบุคลากรก่อนเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรม เพื่อส่งเสริมกลไกในการคัดเลือก สรรหาของหน่วยงาน ให้มีโอกาสในการคัดเลือกผู้ที่มี ความรู้ ความเข้าใจ มีจิตสำนึกรักความยุติธรรมเข้าสู่หน่วยงาน เพื่อการปฏิบัติงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย และอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชนต่อไปได้

ส่วนนโยบายและยุทธศาสตร์ยุติธรรมชุมชนและยุติธรรมจังหวัด

วิจัยและวิชาการ

ฐานความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรม (งานวิจัย บทความ วิทยานิพนธ์)

ฐานความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรม เป็นฐานข้อมูลประกอบด้วย งานวิจัย และวิทยานิพนธ์  ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และบทความ ข้อเสนอกฎหมาย รายงานการประชุมทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง

วารสารกระบวนการยุติธรรม

วารสารกระบวนการยุติธรรม (Journal of Thai Justice System) เป็นวารสารวิชาการที่จัดทำขึ้นตามภารกิจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2549 ซึ่งมีหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม ดังนั้น สำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ จึงได้จัดทำวารสารกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นวารสารราย 4 เดือนขึ้น โดยเริ่มดำเนินการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2551 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ตลอดจนนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และส่งเสริมให้เกิดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เดิมเพื่อพัฒนางานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ในด้านการบริหารงานยุติธรรม ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารจัดการองค์กรในกระบวนการยุติธรรม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้สนใจหรือสาธารณชนได้รับรู้อีกด้วย

Data EXchange Center (DXC)

ในปี 2550 กระทรวงยุติธรรมมอบหมายให้สำนักงานกิจการยุติธรรม จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรมต้นแบบ (Data EXchange Center : DXC) ขึ้นเพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลในกระบวนการยุติธรรมให้กับหน่วยงานที่มีความพร้อมและสามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลกันได้

ปัจจุบัน ศูนย์ DXC เติบโตขึ้น และมีการใช้เทคโนโลยีที่รองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรมที่มีศักยภาพและความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น สามารถบริหารจัดการ เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีเสถียรภาพและความปลอดภัยในการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังมีหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเข้าร่วมโครงการอีกหลายหน่วยงาน

ข้อมูลสถิติกระบวนการยุติธรรม

ศูนย์พัฒนาข้อมูลกระบวนการยุติธรรม ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลสถิติสำคัญของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยมุ่งหวังให้เกิดข้อมูลที่สามารถบ่งชี้ถึงสถานการณ์อาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมในภาพรวมของประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการรับมือกับปัญหาอาชญากรรม เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนานโยบายหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งใช้วิเคราะห์ อ้างอิง สำหรับงานวิชาการต่อไป

ระบบติดตามกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ

การจัดทำกฎหมาย และการดำเนินการอื่นๆ นอกเหนือจากการจัดทำกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ที่ประชุมประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงเมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2559 ณ ทำเนียบรัฐบาล มีมติมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้ง 46 แห่ง พิจารณาจัดทำกฎหมายและดำเนินการโดยวิธีการอื่นนอกเหนือจากการจัดทำกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญตามภารกิจของหน่วยงาน พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมโดยสำนักงานกิจการยุติธรรมเป็นฝ่ายเลขานุการฯ ทำหน้าที่รวบรวมผลการจัดทำกฎหมายฯ จากผู้ประสานงานกลางของทุกส่วนราชการ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้สั่งการให้กระทรวงยุติธรรมรายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ ดังนั้น สำนักงานกิจการยุติธรรมจึงได้จัดทำเว็บไซต์สำหรับรายงานผลการดำเนินงานฯ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยจะปิดรับข้อมูลภายในวันที่ 30 ของทุกเดือน และรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป

Infographic

ภาพอินโฟกราฟฟิกกฎหมาย เป็นสื่อความรู้กฎหมายที่เราจัดทำให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย สีสันน่าสนใจ เพื่อให้ทุกคนเกิดการรับรู้และจดจำง่าย

รู้กฎหมาย (Lamp)

เรียนรู้กฎหมายไปพร้อมกับเรา ถ้าเราอยากรู้อะไรสักอย่าง วันนี้ไม่ต้องไปที่ห้องสมุดหรืออ่านในหนังสืออย่างเดียวแล้ว ยุคนี้แล้ว 4.0 ไม่ว่าเราจะไปไหนมาไหนก็ใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอยู่ตลอดเวลา นอกจากอินเทอร์เน็ตจะให้ความบันเทิงกับเราแล้ว การเรียนรู้ผ่านโลกออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราควรจะเรียนรู้เอาไว้ด้วย

ผู้ใหญ่ลอว์ (LAW MAN) เป็นโปรแกรมแชทบอทสำหรับให้บริการคำแนะนำ พูดคุย หรือสอบถามช่องทางขอรับความช่วยเหลือทางกฎหมาย และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สื่อความรู้กฎหมายต่างๆ เช่น อินโฟกราฟิก เสียงบรรยาย คลิปวีดีโอ ด้วยวิธีการแชทผ่านทาง Line

353 Views