การติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 8 ณ จังหวัดศรีสะเกษ

 

การติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 8 ณ จังหวัดศรีสะเกษ

วันที่ 7 มิถุนายน 2561 นางสาวนันทรัศมิ์ เทพดลไชย รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรมได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมโครงการติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 8 ณ โรงแรมแกลเลอรี่ดีไซน์ จังหวัดศรีสะเกษ

พร้อมทีมคณะติดตามจากส่วนนโยบายและยุทธศาสตร์ยุติธรรมชุมชนและยุติธรรมจังหวัด

โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ยุติธรรมจังหวัด หัวหน้ากลุ่ม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจาก สยจ. 10 จังหวัด ได้แก่ จ.ศรีสะเกษ จ.ชัยภูมิ จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์ จ.มหาสารคาม จ.ยโสธร จ.ร้อยเอ็ด จ.สุรินทร์ จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี

เวลา 10.00 – 12.00 นาฬิกา
เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดและมอบนโยบายของปลัดกระทรวงยุติธรรมกับยุติธรรมจังหวัดทั้ง 10 จังหวัด
ซึ่งสรุปประเด็นของแต่ละจังหวัด ดังนี้

1. สยจ. ศรีสะเกษ
– มีประชากรในพื้นที่เป็นประชากรแฝงหลายชนเผ่า ดังนี้ เขมร ส่วย ลาว และเยอ
– ปัญหาพื้นที่จังหวัด คือ ความยากจนและยาเสพติด

2. สยจ. ชัยภูมิ
– ที่ทำการเป็นอาคารเช่า
– มีระบบการทำงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในจังหวัด
– ปัญหาในพื้นที่จังหวัด คือ หนี้นอกระบบ การบุกรุกที่ดิน ที่ดิน สปก. ยาเสพติด และความไม่รู้กฎหมาย
– โครงสร้างคณะกรรมการ ศยช.ตามคำสั่ง 322/2559 การบริหารงานศูนย์ยุติธรรมชุมชน ไม่มีความสเถียรในชุมชน ควรมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว เพื่อการขับเคลื่อนงานศยช.ให้เกิดประสิทธิภาพ

3. สยจ. นครราชสีมา
– กพยจ. ไม่ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการในจังหวัดในการเข้าร่วมประชุม กพยจ.
– ควรให้มีเบี้ยประชุมในการประชุม

4. สยจ. บุรีรัมย์
– ส่วนใหญ่ปัญหาเป็นการเมืองในพื้นที่
– เรื่องที่มาจาก ศยช. ส่วนใหญ่มาจาก ศูนย์ดำรงธรรม
– ปัญหาพื้นที่จังหวัด คือ รุกร้ำที่ดินสาธารณะ และราคาปุ๋ย
– ควรมีการเพิ่มสาขา ของ สยจ. ด้วยสถิติคดีในจังหวัดบุรีรัมย์ค่อนข้างเยอะ และบางอำเภอห่างไกลจากจังหวัด
– กระบวนการทำงานของคณะกรรมการ สชง. ควรปรับให้มีคณะกรรมการพิจารณามีทุกจังหวัดเหมือนกองทุนยุติธรรม
– ความชัดเจนของคำสั่ง 569/2559 การบริหารงานสำนักงานยุติธรรมจังหวัด

5. สยจ. มหาสารคาม
– กพยจ. หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุม กพยจ.
– ต้องการพนักงานขับรถยนต์ เนื่องจากได้รับจัดสรรรถยนต์แต่ไม่ได้รับจัดสรรพนักงานขับรถยนต์

6. สยจ. ยโสธร
– มีการบูรณาการงานทุกภาคส่วนในจังหวัด
– ปัญหาพื้นที่จังหวัด คือ การขายฝาก
ข้อเสนอแนะมีการบูรณาการงาน เรื่องขายฝากกับสำนักงานบังคับคดีจังหวัดยโสธร

7. สยจ. ร้อยเอ็ด
– ในพื้นที่เกิดความซับซ้อนของ ศยช.กระทรวงยุติธรรม
– ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในการอำนวยความยุติธรรมในพื้นที่ เช่น รถยนต์ และบุคลากรที่เป็นข้าราชการประจำ สยจ.
– ความซ้ำซ้อนของคณะกรรมการความมั่นคงในจังหวัดและคณะกรรมการ กพยจ.

8. สยจ.สุรินทร์
– ปัญหาเงินฌาปนกิจในพื้นที่
– ความเป็นภาระในการเป็นยุติธรรมจังหวัดของผอ.คุมประพฤติ
– ต้องการให้มีการจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง ทีละ 10 จังหวัด จนครบทั้ง 76 จังหวัด

9. สยจ.อำนาจเจริญ
– ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัด
– ปัญหาพื้นที่จังหวัด คือ หนี้นอกระบบและปัญหามรดกที่ดิน การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน

10. สยจ.อุบลราชธานี
– อัตรากำลังที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด
– การเบิกจ่ายฯ สยจ.อุบล ไม่ได้เป็นหน่วยเบิกจ่ายเอง จึงต้องอาศัยสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเป็นหน่วยเบิกแทน ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด
– ปัญหาเรื่องโครงสร้างคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนตามคำสั่ง 322/2559 ที่ให้ปลัดอำเภอประจำตำบลเป็นประธาน ซึ่งปลัดอำเภอ 1 ท่าน จะรับผิดชอบหลายตำบล ทำให้ไม่สามารถที่จะดูแล ศยช. ให้เกิดประสิทธิภาพได้

ทั้งนี้ นางสาวนันทรัศมิ์ เทพดลไชย รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม ได้รับเรื่องปัญหาดังกล่าวไว้และมอบให้ สชจ. ดำเนินการแก้ไขทันที ดังนี้
1.เรื่อง พนักงานขับรถยนต์ ของ สยจ.ชัยภูมิ สยจ.มหาสารคาม สามารถดำเนินขอจัดจ้างพนักงานขับรถยนต์ได้เลย
2.ส่วนเรื่องPassword ของจังหวัดอุบลราชธานี ได้ประสานกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ต่อมาเวลา 13.00 – 15.30 นาฬิกา
ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ศยช. 2 แห่ง ดังนี้

1. ศยช.อบต. จาน (อำเภอกันทรารมย์)(เข้มแข็งมาก)
จุดเด่น ของ ศยช.อบต.จาน คือ
1.1 ผู้บริหารท้องถิ่น (นายก อบต.จาน) ให้ความสำคัญและสนับสนุนภารกิจของศยช.อบต.จาน เป็นอย่างดี
1.2 มีการสนับสนุนงบประมาณในการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ ศยช. แก่ กลุ่มสตรี และผู้นำท้องที่และท้องถิ่น
1.3 สนับสนุนอำนวยความสะดวกในการให้ใช้สถานที่เป็นที่ตั้ง ศยช.
1.4 มีผังโครงสร้าง คกก.ศยช.ที่ชัดเจน รวมทั้งบอร์ดประชาสัมพันธ์งานศยช. และงานของกระทรวงยุติธรรม
1.5 เลขา ศยช. มีความใส่ใจในการปฏิบัติภารกิจของ ศยช. เป็นอย่างดี และได้นำความรู้ด้านภารกิจศูนย์ไปประชุมชี้แจงให้ประชาชนรับทราบถึงสิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง
แต่มีข้อเสนอว่าควรยกเลิกหรือเปลี่ยนคำสั่ง 322/2559 ที่ปลัดอำเภอเป็นประธาน เพราะไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้เต็มที่ เนื่องจากภารกิจมาก ไม่ใช่คนพื้นที่ ย้ายบ่อย

2. ศยช.เทศบาลตำบลกันทรารมย์
(เข้มแข็ง)
เป็น ศยช. ที่เป็นชุมชนในเมือง มีการออก “ธรรมนูญชุมชน” ร่วมกัน เป็นแนวทางการขับเคลื่อนยุติธรรมชุมชน เช่น ธรรมนูญชุมชนบ้านคำเมย หมู่ที่5 ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์
ทั้งนี้ ในศูนย์ดังกล่าวมีทั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย/ศูนย์ยุติธรรมร่วมกัน แต่ติดปัญหาคำสั่ง 322/2559

122 Views