

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
การจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม และเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้ซึ่งมุ่งหวังให้เกิดการขับเคลื่อนระบบตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐาน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรมและสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนต่อไป
คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้เสนอรายงานต่อสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)
เรื่อง “การปฏิรูปประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยใช้การประเมินเป็นตัวชี้วัด” ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม
เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการอำนวยความยุติธรรม และเป็นหลักฐานบ่งชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อน – จุดแข็งและปัญหาอุปสรรค ซึ่งสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้อย่าง
ตรงจุด นอกจากนี้ยังมีการปฏิรูปกระบวนการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ซึ่งจะบริหารจัดการสถิติผ่านระบบศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม (DXC : Data Exchang Centre) ช่วยเร่งรัด ให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนระบบเอกสารไปสู่ระบบ e-office ที่เชื่อมโยงกันจากชั้นสอบสวนการพิจารณาสั่งคดี การพิจารณาคดีจนถึงระบบงานการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด รวมทั้งปฏิรูปวิธีการใช้ประโยชน์ จากตัวชี้วัด ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลของตัวชี้วัด
ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหน่วยงานได้
สำนักงานกิจการยุติธรรมในฐานหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของ สปท. ในการผลักดันการขับเคลื่อนการปฏิรูปประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยใช้การประเมินเป็นตัวชี้วัด ดำเนินการทดลองจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัด เพื่อนำมาใช้ในการประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และความท้าทายของกระบวนการยุติธรรมไทย เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา และการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในอนาคตอย่งเป็นรูปธรรม โดยจะนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาแผนบูรณาการ และแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งแผนแม่บทการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติในระยะต่อไป
กรอบการดำเนินงาน (Timeline) ในการจัดทำชุดตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
กรอบตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เอกสารอ้างอิงและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- สายวัดรอบเอวกระบวนการยุติธรรม โดยสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)
- โครงการจัดทำดัชนีวัดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการเข้าถึงความยุติธรรม โดยสำนักงานกิจการยุติธรรม
- โครงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยสำนักงานกิจการยุติธรรม
- โครงการศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมไทย โดยสำนักงานกิจการยุติธรรม