newbannerJPI

ความเป็นมา

             ตามที่คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้เสนอรายงานต่อสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เรื่อง “การปฏิรูปประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาโดยใช้การประเมินเป็นตัวชี้วัด” ซึ่งกำหนดให้มีการปฏิรูปตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของประเทศไทย เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการอำนวยความยุติธรรมของประเทศไทย โดยเห็นควรให้มีการ 1) ปฏิรูปกระบวนการกำหนดตัวชี้วัด 2) ปฏิรูปกระบวนการจัดเก็บรวบรวม บริหารจัดการข้อมูลสถิติเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาผ่านระบบศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม (DXC: Data Exchange Center) ให้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลสถิติเพื่อใช้วิเคราะห์และสังเคราะห์ตามตัวชี้วัดแบบใหม่ และ 3) ปฏิรูปการใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัด เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาในกระบวนการยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น กระทรวงยุติธรรมได้รับมอบหมายให้ดำเนินการผลักดันการปฏิรูปตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ตามข้อเสนอแนะของ สปท. โดยใช้กลไกพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ผ่านคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) และได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิรูปตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาขึ้นเพื่อกำหนด “ตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” (Criminal Justice Performance Indicators) ที่เหมาะสมกับกรอบตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรม โดยได้กำหนดชุดตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาขึ้น ประกอบด้วย 7 ชุด 21 ตัวชี้วัด (REGRADE) ดังนี้

1. ประชาชนรับรู้กฎหมายและสิทธิพื้นฐาน (Rights and Legal Knowledge) ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด
2. การควบคุมอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ (Effective Crime Control) ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด
3. กระบวนการยุติธรรมบนพื้นฐานการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance Justice) ประกอบด้วย 11 ตัวชี้วัด
4. ลดอัตราการกระทำผิดซ้ำ (Reduced Recidivism) ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด
5. ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม (Appropriate Protection of Victims and the Accused) ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด
6. ไม่มีผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกจับกุมโดยไม่ได้กระทำความผิด (Do not have any Miscarriages of Justice) ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด
7. ประชาชนให้ความเชื่อมั่น เชื่อถือ ศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม (Ensured Trust in Justice) ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด

ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดแบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่

1) การจัดเก็บข้อมูลจากประชาชน – PS (Public Survey) จำนวน 3 ตัวชี้วัด
2) การจัดเก็บข้อมูลผ่านข้อมูลสถิติทางทะเบียน – AD (Administrative Data) จำนวน 14 ตัวชี้วัด
3) การจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและการประเมินตนเอง – SA+OB (Self-Assessment and Observation) จำนวน 4 ตัวชี้วัด

ผลการเปรียบเทียบชุดตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ระหว่างปี 2560 – 2563

indicatros60 63 1
indicatros60 63 3
indicatros60 63 2

ชุดตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

indicators1

เอกสารเผยแพร่

1,790 Views